ดอกไม้ฤดูร้อน สวยๆ

ดอกไม้ผลิบานในฤดูร้อน สีสันสวยงาม ผ่อนคลายจิตใจ


สีบานเย็น สดสวย


สวยและหอม




ดอกสีขาว เกิดขึ้นเองตามสนามหญ้าและในป่าทั่วไป



ดอกสีขาวและม่วงคล้ายดอกบานไม่รู้โรย เกิดเองที่สนามหญ้า



สีขาว สวยและหอมมาก




สีขาว ต้นสูง


กุหลาบสีชมพู




สีม่วงใสๆ


สีน้ำเงินใส



รั้วสีชมพู



ดูใกล้ๆ




นี่ก็สีบานเย็นสวยๆ




กลีบดอกสีชมพูเกสรสีขาว




ดอกตูมสีม่วง



ดอกสีขาวฝอย



ดอกหญ้า




สีเหลืองริมรั้ว




สีชมพูริมรั้ว



สีเขียวเหลืองชวนพิศ

กระโปรงยาว

เคล็ดลับดี ๆ ในการเลือกใส่ กระโปรงยาว

1) ห้ามใส่กระโปรงยาวที่มีสีเดียวกะสีเสื้อเด็ดขาด เพราะคุณจะดูป้ามาก ๆ

2) หากคุณมีรูปร่างค่อนข้างอวบอ้วน ห้ามใส่กระโปรงยาวกรอมเท้า เพราะคุณจะเหมือนถังเดินได้ดีๆ นั่นเอง

3) สาวสะโพกใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการใส่กระโปรงยาวลายจุด เพราะมันจะยิ่งเสริมให้สะโพกคุณดูใหญ่ขึ้นอีก

4) ห้ามใส่กระโปรงยาวกับรองเท้าส้นตึก เพราะมันดูไม่เข้ากันเลยสักนิด คุณควรใส่รองเท้าเปลือยเท้าเก๋ ๆ จะดูเข้ากันดี ที่สำคัญ อย่าลืมรักษาความสะอาดของเล็บเท้ากันด้วยล่ะ

5) ควรใส่กระโปรงยาวกับเสื้อเข้ารูป อาจเป็นเสื้อกล้ามหรือเสื้อมีแขนเก๋ ๆ เพราะหากว่าคุณใส่เสื้อตัวใหญ่กับกระโปรงยาว แล้วโดนเรียกว่า "ยาย" ไม่รู้ด้วยนะ

ทำไมต้องจ้าง สถาปนิกและวิศวกร

ปลูกบ้านหลังเล็กๆ ทำไมต้องเสียเงินจ้างสถาปนิกและวิศวกร?


ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินก็เพราะว่าทั้ง 2 ต้องเซ็นชื่อลงในแบบก่อสร้างเพื่อยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างกับทางสำนักงานเขตครับ แต่ถ้าจะตอบด้วยเหตุและผลก็อาจจะยาวหน่อย เพราะเมื่อท่านยินดีว่าจ้างสถาปนิกและวิศวกร โดยยอมจ่ายเงินประมาณ 7.5 % จากราคาค่าก่อสร้าง เงินนี้จะมีผลผูกพันให้ สถาปนิกจะต้องทำหน้าที่ต่อไปนี้ให้กับท่านคือ

1. ให้คำปรึกษาเกือบทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง อย่างเช่น จะออกแบบบ้านอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งานของเจ้าของบ้าน จะหาผู้รับเหมาได้จากที่ไหน หรือแม้กระทั่งจะกู้เงินกับธนาคารอย่างไร

2. ทำหน้าที่คอยประสานงานกับวิศวกรโครงสร้าง หากโครงการมีขนาดใหญ่อาจต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำทีมคอยประสานงานเพิ่มเติมกับ วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรสุขาภิบาล วิศวกรเครื่องกล มัณฑนากร หรือภูมิสถาปนิก ตามความซับซ้อนของงาน

3. ออกแบบเบื้องต้น และพัฒนาแบบดีไซน์ ในขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สถาปนิกจะต้องใช้ความคิดและประสบการณ์การทำงานส่วนตัวทั้งหมดที่มี วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ศึกษาข้อกำหนดของกฎหมายที่มีผลกับที่ดินและลักษณะของอาคาร กำหนดแนวความคิดในการออกแบบ วางผังอาคาร เพื่อตอบโจทย์หรือความต้องการทั้งหมดของเจ้าของบ้าน จากนั้นก็พัฒนาแบบจนเจ้าของบ้านพอใจหรือตามแต่ที่จะตกลงกันไว้

4. ทำแบบก่อสร้าง เพื่อนำไปใช้ในการสร้าง ซึ่งแบบก่อสร้างนี้มักจะประกอบไปด้วย ผังพื้น ผังหลังคา รูปตัด รูปด้าน และแบบขยายรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ช่างก่อสร้างทราบถึงรายละเอียดของ ตำแหน่ง ขนาด และวัสดุที่จะใช้งานและก่อสร้าง โดยแบบดังกล่าวจะต้องนำไปยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างกับทางสำนักงานเขต เพื่อเป็นหลักฐานแสดงสิทธิในการก่อสร้าง

5. ทำการประมูลและเจรจาต่อรอง สถาปนิกอาจทำการประเมินราคาค่าก่อสร้างอาคารจากแบบก่อสร้าง และช่วยเจ้าของบ้านหาผู้รับเหมาที่จะมาทำหน้าที่รับงานก่อสร้าง โดยผ่านวิธีการประมูลราคาจากผู้รับเหมาหลายๆ รายเพื่อเปรียบเทียบ และเจรจาต่อรองก่อนตัดสินใจ

6. บริหารงานก่อสร้าง สถาปนิกผู้ออกแบบจะต้องหมั่นเข้าไปดูแลงานก่อสร้างว่าถูกต้องและเป็นไปตามแบบก่อสร้างที่ออกแบบหรือเมื่อมีปัญหาที่เกี่ยวกับแบบก่อสร้าง และทำหน้าที่คอยประสานงานกับเจ้าของบ้าน ผู้รับเหมา และวิศวกร เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินการจนแล้วเสร็จ

7. ให้คำปรึกษาในการซ่อมบำรุง หลังจากที่บ้านสร้างเสร็จแล้วสถาปนิกมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและดูแลแก้ไขปัญหาที่เป็นผลเกิดขึ้นจากการออกแบบของสถาปนิก ถึงแม้ว่าผู้รับเหมาโดยส่วนใหญ่จะรับประกันงานก่อสร้างเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี แต่หลังจากนั้น เมื่อมีปัญหาเจ้าของบ้านก็สามารถติดต่อขอคำปรึกษาจากสถาปนิกผู้ออกแบบได้เช่นกันครับ

นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายจำนวนดังกล่าวยังจะครอบคลุมไปถึงวิศวกรผู้ที่จะทำงานร่วมกับสถาปนิกที่ท่านว่าจ้าง โดยหน้าที่ของวิศวกรจะเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในช่วงตั้งแต่สถาปนิกเริ่มกระบวนการในการออกแบบเบื้องต้น โดยมีหน้ารับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. ให้คำปรึกษาแก่สถาปนิก ในเรื่องของโครงสร้างบ้าน ทั้งในมุมของโครงสร้างที่เหมาะสมกับการออกแบบ ความเหมาะสมของโครงสร้างกับราคาค่าก่อสร้าง เพื่อให้สถาปนิกนำไปใช้ประกอบในการพัฒนาแบบบ้านหรืออาคาร

2. ออกแบบโครงสร้าง วิศวกรจะต้องพยายามออกแบบโครงสร้างให้รองรับแบบที่สถาปนิกพัฒนาขึ้น

3. ทำรายการคำนวณโครงสร้าง เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบเพื่อขอใบอนุญาตก่อสร้าง

4. วิศวกรจะต้องหมั่นเข้าไปดูแลงานโครงสร้างที่ตนเองเป็นผู้ออกแบบ ให้เป็นไปตามแบบที่คำนวณไว้หรือเมื่อมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเกิดขึ้น

5. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากโครงสร้าง วิศวกรมีหน้าที่ต้องคอยให้คำปรึกษาแก่สถาปนิกเมื่อโครงสร้างของบ้านมีปัญหาเกิดขึ้นในภายหลังจากที่การก่อสร้างเสร็จสิ้นเรียบร้อยเช่นเดียวกันกับสถาปนิก

หากไม่นับภาระในข้อสุดท้ายของทั้งสถาปนิกและวิศวกร เงินจำนวน 7.5% ของราคาค่าก่อสร้างที่ใช้ว่าจ้างสถาปนิกและวิศวกร หลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาในการทำงานประมาณ 1 ปี แต่เมื่อนับรวมภาระหน้าที่รับผิดชอบในข้อสุดท้าย เงินจำนวนดังกล่าวถือว่าไม่เยอะเลยครับ สำหรับบ้านของท่านหลังหนึ่งซึ่งอาจมีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป รู้แล้วใช่ไหมครับว่าทำไมท่านจึงควรจ้างสถาปนิกและวิศวกร

ขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสารบ้านและสวน