การปลูกพริกกะเหรี่ยง

พริกกะเหรี่ยง ( Phrik Kariang )



ภาพโดย Hans Linde จาก Pixabay


ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Capsicum spp.

พริกกะเหรี่ยง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Solanaceae เป็นพริกที่ชาวไทยภูเขานิยมปลูกกันมาก สามารถปลูกได้ทั่วไปบนพื้นที่สูง การผลิตไม่จําเป็นต้องใช้สารเคมีเนื่องจากศัตรูทางธรรมชาติมีน้อย นอกจากนี้ตลาดยังมีความต้องการสูง พริกกะเหรี่ยงมีลักษณะเด่น คือ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม โรคและแมลง 

มีปริมาณผลผลิตสูงและให้ผลผลิตติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 1 – 3 ปี มีความเผ็ดมากและมีกลิ่นหอม เป็นที่ต้องการของโรงงานแปรรูปต่าง ๆ

พันธุ์พริกกะเหรี่ยง

1. ชนิดผลเล็ก จะมีขนาดผลเรียวละยาวกว่าพริกขี้หนูเล็กน้อย เมื่อผลยังดิบอยู่จะมีสีเขียวเข้มและสุกแดงเมื่อแก่จัด

2. ชนิดผลใหญ่ ผลจะมีขนาดใหญ่กว่า เนื้อหนา ผิวหนา สีของผลเมื่อดิบมีทั้งเป็นสีเขียวอมเหลืองอ่อน เริ่มสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม แต่เมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงเข้ม สีสดเป็นมัน

การเตรียมเมล็ดและต้นกล้าก่อนปลูก

นําเมล็ดแช่น้ําทิ้งไว้ 1 คืน หรือนํามาห่อในผ้าขาวบางหมาดๆ เก็บไว้ประมาณ 2 – 3 วัน จนมีตุ่มรากสีขาวเล็ก ๆ 

นําไปเพาะในกระบะ โดยใช้วัสดุปลูก คือ ดินละเอียด : ทราย : ขี้เถ้าแกลบ อัตรา 1 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนําเมล็ดพริกลงปลูกในกระบะเพาะละ 1 เมล็ด หรือทําการเพาะกล้าในแปลง โดยโรยเป็น แถวห่างกันประมาณ 3 นิ้ว กลบหน้าดินประมาณ 1 เซนติเมตร 

หลังเพาะนาน 7 – 10 วัน จะเริ่มงอก หมั่นรดน้ําให้ชุ่มอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้แห้ง จนกระทั่งต้นกล้าเจริญเติบโตมีใบประมาณ 3 – 4 คู่ หรือต้นกล้า มีอายุประมาณ 30 วัน สามารถนําไปปลูกในแปลงปลูก

การปลูก

การปลูกควรมีการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 800 – 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ผสมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 80 – 160 กิโลกรัม/ไร่ โดยใน 1 ไร่ ใชต้นกล้าพันธุ์ จํานวน 2,500 – 3,000 ต้น /ไร่ใช้ระยะปลูก 80 x 80 เซนติเมตร

การให้น้ํา

ให้น้ำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าให้น้ำขังแปลงเพราะจะทําให้รากเน่า

การให้ปุ๋ย

ใช้ปุ๋ยหมักหืรอปุ๋ยคอก ไม่นิยมใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เนื่องจากทําให้รสชาติของพริกกะเหรี่ยงเปลี่ยนไป

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

หลังย้ายปลูกประมาณ 60 วัน พริกกะเหรี่ยงเริ่มทยอยออกลูก และสามารถเก็บผลผลิตได้ โดยเลือกเก็บเมล็ดที่มีสีเขียวเข้มถึงแดง เพื่อรับประทานสด เก็บเมล็ดที่มีสีแดงสดเพื่อใช้ในการแปรรูป

คุณค่าทางโภชนาการ

พริกประกอบด้วย วิตามินเอ กรดแอสคอร์บิค ฟอสฟอรัสโปแตสเซี่ยม และแคลเซี่ยมสูง สารที่ทำให้เกิดรสชาติและความเผ็ดของพริกคือ capsaicin ซึ่งมีปริมาณสูงในเมล็ด ช่วยเพื่มอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มอัตราการหายใจ เพิ่มน้ําลาย แก้ปวดฟัน

การปล่อยให้ผลสุกบนต้น จะช่วยเพิ่มวิตามิน เอ และวิตามินซี พริก ป่นสีอดงปริมาณ 1ช้อนชาให้วิตามินเอ 26% พริกสีแดงมีวิตามินซีสูงกว่าสีเขียว 10 เท่า

การใช้ประโยชน์

1. รับประทานสด ใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ

2. ตลาดแปรรูป ในอุตสาหกรรมอาหารไม่ว่าจะเป็นซอส พริกเผา น้ำจิ้มต่าง ๆ 

3. การถนอมอาหาร เช่น การตากแห้ง หรือทําพริก


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4

การปลูกพริกหวาน

พริกหวาน ( Sweet peper )



ภาพโดย Thomas Breher จาก Pixabay


ชื่อวิทยาศาสตร์  Capsicum annum

การปลูกพริกหวานในโรงเรือนโดยระบบ Sub Strate Culture เป็นการปลูกที่ไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก การปลูกและการดูแลรักษาจะแตกต่างจากการปลูกในดินหรือในที่โล่งแจ้ง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง อีกทั้งยังสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆได้ ภายในโรงเรือน

พริกหวาน ต้องการสภาพอากาศอบอุ่น ความชื้นในอากาศต่ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 21 – 26゚C ถ้าอุณหภูมิกลางวันสูงกว่า 32゚C จะทําให้ ดอกร่วง การปลูกในอุณหภูมิ 10 – 15゚C จะจํากัดการเจริญเติบโตและการเจริญของตาดอก ในสภาพที่มีอุณหภูมิสูงและความชื้นในอากาศต่ำ จะทําให้อัตราการคายน้ําของพืชสูง เป็นผลให้พืชขาดน้ํา พืชจะชะงักการเจริญหรือเป็นสาเหตุให้ ใบ ดอก และผลร่วง ในสภาพอุณหภูมิ 10 – 21゚C ผลจะนิ่มและเหี่ยวเร็ว

การเลือกสายพันธุ์

สายพันธุ์พริกหวานที่ปลูกได้ดีในโรงเรือนโดยระบบ Sub Strate เป็นสายพันธุ์ทอดยอดหรือขึ้นค้าง ( Indeterminate type ) ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ ลูกผสมจากประเทศเนเธอร์แลนด์

วัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นในการปลูกพืชโดยระบบ Sub Strate

1. โรงเรือน เป็นสิ่งจําเป็นในการผลิตพืชในระบบนี้ เพื่อที่สามารถ ควบคุมสภาพแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติได้ โดยเฉพาะ ลม ฝน และการรบกวนจากโรคและแมลงศัตรูพืช

2. ระบบการให้น้ําและปุ๋ย

• ปั๊มน้ํา เป็นอุปกรณ์สําคัญในการให้น้ําโดยระบบน้ําหยด เพื่อเพิ่มแรงดันน้ําและทนการกัดกร่อนของเกลือหรือกรด 

• หัวน้ําหยด แบบเสียบ

• ถังผสมปุ๋ย

• เครื่องกรองน้ํา

• เกจวัดแรงดันน้ํา

• เครื่องมือวัด EC meter และ pH meter เป็นอุปกรณ์สำคัญในการทําระบบน้ํา

3. วัสดุอุปกรณ์ในการปลูก

• วัสดุปลูก เช่น กาบมะพร้าว , มีเดีย , ขุยมะพร้าว หรือ ใยมะพร้าว 

• เชือกฝ้ายพยุงลําต้น หรือ ลวด

• ถุงพลาสติกขนาด 12 นิ้ว และ 3 x 6 นิ้ว

4. ธาตุอาหารพืช นับเป็นหัวใจของการปลูกพืช ปัจจุบันมีการคิดค้น สูตรอาหารสําหรับปลูกพืชมากมาย แต่การเลือกใช้สูตรขึ้นอยู่กับชนิดพืช ฤดูปลูก สถานที่ปลูก

5. พันธุ์พืชที่ปลูก ควรเป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการและมีผลผลิตสูง 

6. น้ํา ควรเป็นน้ําสะอาด ปริมาณและคุณภาพต้องดี

7. กรดไนตริก ใช้ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของนํ้า สําหรับน้ำที่มีค่าเป็นด่างสูง

การเพาะกล้าพริกหวาน

เพาะเมล็ดในถาดเพาะ ใช้วัสดุเพาะสําเร็จหรือมีเดีย เมื่อต้นกล้าพริกหวานงอกได้ 1 อาทิตย์ ทําการย้ายกล้าลงปลูกในถุงขนาด 3 x 6 นิ้ว โดยใช้วัสดุปลูก คือ ขุยมะพร้าว 2 ส่วน มีเดีย 1 ส่วนผสมรวมกัน แล้วย้ายกล้าลงปลูก 2 ต้น ต่อ 1 ถุง เมื่อปลูกเสร็จรดน้ําเปล่า 2 วัน วันที่ 3 รดนํ้าผสมปุ๋ย โดยค่าความเค็มของปุ๋ย คือ EC 1.5 pH 5.5 ถึง EC 1.8 หลังจากรดปุ๋ยได้ 1 อาทิตย์ ควรงด น้ํา2 วัน เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงก่อนนําไปปลูกลงถุงใหญ่ต่อไป

การปลูก

ใช้ถุงขาวนมไม่มีรูขนาด 1 นิ้ว ใส่กาบมะพร้าวสับให้เต็ม ระหว่างใส่ กาบมะพร้าวสับอย่าให้ถุงมีรอยรั่ว เพราะจะทําให้น้ําซึมออก 

จากนั้นนํามาเรียงให้เป็นแถวในโรงเรือน ระยะห่างระหว่างแถว 1 เมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร 

นําหัวน้ําหยดเสียบลงถุงก่อนปลูก 2 วัน ปล่อยน้ําพร้อมปุ๋ย EC 1.9 มาตามสายน้ําหยด ลงในถุงที่เตรียมไว้ ให้น้ำแช่กาบมะพร้าวประมาณ 3⁄4 ของถุง ทิ้งไว้ 2 คืน 

ก่อนปลูกพริกหวานใช้ไม้เจาะข้างถุงให้ห่างจากพื้นขึ้นมา 2 นิ้ว ไม่ควรให้สูงเกิน 2 นิ้ว และไม่ต่ำกว่า 2 นิ้ว เพราะถ้าเจาะถุงสูงเกินไปต้นพริกได้รับน้ําปุ๋ยมากเกินไป ทําให้ลําต้นอวบเปราะ ไม่แข็งแรง แต่ถ้าเจาะต่ำเกินไป ต้นพริกจะขาดปุ๋ยในช่วงติดดอกออกผลและจะทําให้สูญเสียปุ๋ย 

สําหรับมะเขือเทศ ให้เจาะรูประมาณ 3 นิ้ว เนื่องจากมะเขือเทศต้องการน้ํามากกว่าพริกหวาน ถ้าขาดน้ําจะแสดงอาการเหี่ยวให้เห็นทันที

การเตรียมปุ๋ย

การเตรียมสารละลายธาตุอาหารแบบเข้มข้น ผู้เตรียมจะต้องจัดหาและเตรียมแม่ปุ๋ยเคมีพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ผสม ในการผสมจะแบ่ง ปุ๋ยที่จะผสมออกเป็น 2 ถัง คือ ถัง A และ ถัง B แต่ละถังจะประกอบด้วย

                    ถัง                                                                   ถัง B

แม่ปุ๋ยเคมีที่ผสมในถังนี้คือ 

• แคลเซียมไนเตรท

( 15.5 – 0 – 0 )
• โพแทสเซียมไนเตรท

( 13 – 0 – 46 ) 

• เหล็กดีเล็ต


แม่ปุ๋ยเคมีที่ผสมในถังนี้คือ

• โพแทสเซียมไนเตรท 

• แมกนีเซียมซัลเฟต

• โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต 

• โบรอน
• ซิงค์ซัลเฟต
• คอปเปอร์ซัลเฟต

• โตเดียมโมลิปเดต 

• แมงกานีสซัลเฟต


การให้ปุ๋ยแต่ละครั้งจะใช้แม่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ใน ถัง A และ ถัง B อัตราส่วน 1 : 1 ใส่ลงในถังผสมขนาด 1,000 ลิตร 

จากนั้น ใช้เครื่องวัด EC วัดค่าความเป็นกรด เป็นด่าง ให้ได้ค่าเท่ากับ 5.5 ถ้าค่าความเป็นกรด เป็นด่างสูงเกินไปให้ใช้กรดไนตริกปรับ

การให้ปุ๋ย ให้น้ํา แต่ละครั้งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ แต่ต้องให้ไม่ต่ำกว่าวันละ 3 ครั้ง เช่น อากาศครึ้มฝน ให้ปุ๋ยเช้าและบ่าย แต่ถ้าแดดออก อากาศค่อนข้างร้อนให้ปุ๋ยวันละ 4 – 5 ครั้ง

การใช้เชือกพยุงลําต้น

เนื่องจากพริกหวานที่ปลูกเป็นพันธุ์ที่มีลําต้นเลื้อยสูง จึงมีการใช้เชือกพยุงลําต้นให้ตั้งตรง การผูกจะใช้วิธีผูกติดกับลวดที่ขึงบนหลังคา ดึงลําต้นให้ตั้งตรงแล้วคอยพันเชือกขึ้นตามความสูงของต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม เชือกที่นิยมใช้ได้แก่เชือกฝ้ายสีขาว

การตัดแต่งกิ่งและการปลิดผล

การปลูกพริกในระบบนี้จะไว้จํานวนกิ่งต่อต้น 2 กิ่ง ในหนึ่งถุงจะมี 2 ต้น 4 กิ่ง การไว้ต้นละ 2 กิ่ง จะทําให้ได้ปริมาณผลผลิตมากข้ึน การปลิดผลจะปลิดผลที่มีรูปทรง บิดเบี้ยว มีแมลงกัดกินและมีปริมาณผลเบียดเสียดกันมากเกินไปออก การไว้จำนวนผลมาก จะทําให้ได้คุณภาพของผลผลิตต่ำ มีขนาดเล็ก และ แย่งอาหารกัน



ภาพโดย Stefan Schweihofer จาก Pixabay


การเก็บเกี่ยว

พริกหวานพันธุ์สีเขียวสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 65 – 70 วัน หลังจากย้ายกล้าปลูก ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 5 เซนติเมตร และมีสีเข้ม สังเกตผลมีผิวเรียบและแข็ง 

สําหรับพันธุ์สีแดงและสีเหลืองเก็บเกี่ยวเมื่อผลเริ่มมีสีได้มากกว่า 70 – 80 % โดยใช้กรรไกรตัดแล้วคัดเกรดห่อด้วยกระดาษบรรจุลงตะกร้าพลาสติก ไม่ควรบรรจุแน่นเกินไป ทําให่ผลช้ำเสียหายขณะขนส่งได้

คุณค่าทางโภชนาการ

พริกหวานมีคุณค่าทางวิตามินเอ บี 1 บี 2 และซี มีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก

การใช้ประโยชน์

พริกหวานมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม เนื้อหนา มีหลายสีทั้ง เขียว แดง เหลือง สมและสีช็อกโกเลต มีรสชาติหวาน ไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัด ชุบแป้งทอด สอดไส้กับเนื้อสัตว์บดแล้วอบ หรือนํามาผัดกับชนิดต่างๆ ให้สีสันน่ารับประทาน


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4






การปลูกกระเทียมต้น

กระเทียมต้น ( Leek )



ภาพโดย Elena Escagedo จาก Pixabay 


ชื่อวิทยาศาสตร์  Allium ampeloprasum L . porrum

กระเทียมต้น เป็นผักเมืองหนาวชนิดหนึ่ง สามารถปลูกได้ตลอดปี ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ําทะเล 800 เมตร ขึ้นไป และมีอุณหภูมิที่เหมาะสม 12 – 21 ゚C กระเทียมต้นเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ดินที่ปลูกต้องร่วนซุยและ หน้าดินลึก มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ําได้ดี ส่วนที่นำไปประกอบอาหาร คือลำต้นเทียม ( pseudostem ) หรือโคนก้านใบ ( Shaft ) เป็นส่วนที่ขยายตัวและสะสมอาหารสํารอง สีขาว ขนาดและความยาวของลําต้น เทียมขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ความสูงของต้นโดยทั่วไป ประมาณ 40 – 75 เซนติเมตร

การเตรียมกล้า

1. แปลงเพาะกล้า ในฤดูฝนอยู่ภายใต้หลังคาพลาสติก ฤดูร้อน / หนาวใช้อุโมงค์ตาข่าย

2. บ่มเมล็ดโดยแช่เมล็ด ในน้ําผสมยากันรา นาน 15 นาที ผึ่งเมล็ดไว้นาน 30 นาที ห่อด้วยผ้าไว้ 1 คืน แล้วนําเมล็ดไปหยอดในแปลงเพาะกล้า

3. ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 12 – 24 – 12 และปูนขาว อัตรา 30 กรัม /ตารางเมตร และปุ๋ยคอกปริมาณ 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร คลุกเคล้าให้ทั่วแปลงรดน้ําให้ชุ่ม

4. ขีดร่องขวางแปลงลึก 1 เซนตเมตร ห่าง 10 เซนติเมตร หยอดเมล็ดที่ บ่ม แล้วห่างกัน 1 เซนติเมตร กลบด้วยดินบางๆ แล้วคลุมด้วยฟาง

5. ต้นกล้าอายุได้ 25 วัน และ 50 วัน ใสปุ๋ยสูตร 15–15–15 และยูเรีย

6. รดน้ําวันละ 1 ครั้ง อายุได้ 2 เดือน ย้ายปลูก

7. ต้นกล้า ย้ายปลูก ตัดปลายให้สูง กว่ายอด 2 เซนติเมตร ตัดรากเหลือ

1 เซนติเมตร แช่รากในน้ําผสมไดแทนเอ็ม 45 นาน 10 นาที ก่อนปลูก

การเตรียมดิน

ไถหรือขุดดินให้ลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร ตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักและรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 20 กรัม /ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน

การปลูก

ก่อนปลูก รดน้ำให้แปลงมีความชุ่มชื้น แล้วทําการปลูก โดยขุดร่องลึก 3 เซนติเมตร ห่างกัน 80 เซนติเมตร เลือกต้นกล้าที่มีขนาดเท่ากันปลูกในแปลงเดียวกัน กลบดิน รดน้ําให้ทั่วแปลง

การให้น้ํา / ปุ๋ย

ควรดูแลไม่ให้กระเทียมต้นขาดน้ำ หลังปลูก 20 วันโรยปุ๋ยสูตูร 21 – 0 – 0 และ 15 – 15 – 15 อัตรา 20 กรัม /ตารางเมตร ลงในช่องปลูก แล้วกลบดิน พูนโคนง อายุได้ 40 วันโรยปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15

การเก็บเกี่ยว

เก็บเกี่ยวได้เมื่อกระเทียมต้น อายุ 80 วันขี้นไป หลังจากย้ายปลูก หรือเมื่อใบล่างห่างจากพื้น 15 เซนติเมตร หรือโคนต้นเกิน 2.5 เซนติเมตร ล้างรากให้สะอาดตัดทิ้งเหลือ 0.5 เซนติเมตร เก็บใบเสียทิ้ง

การใช้ประโยชน์

ใช้ทำซุป สตู ผัดน้ํามันหอย ผัดกับอาหารทะเล เนื้อสัตว์ ปลา หรือ ตุ๋น แบบจับฉ่าย



คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4

การปลูกผักกาดหวาน

ผักกาดหวาน ( Cos Lettuce , Romain Lettuce )



ภาพโดย วรพจน์ พนาปวุฒิกุล จาก Pixabay 


ชื่อวิทยาศาสตร์  Lactuce sativa var. longifolla

ผักกาดหวาน เป็นพืชล้มลุกการปลูกดูแลรักษาคล้ายผักกาดหอมห่อ ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 – 24゚C ในสภาพอุณหภูมิสูงการเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และสร้างสารสีขาวคล้ายน้ํานมหรือ ยางมาก เส้นใยสูงเหนียวและมีรสขม

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรียวัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ําได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 6 – 6.5 พื้นท่ีปลูกควรโล่งและได้รับแสงแดด

อย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหวานมีลักษณะบางไม่ทนต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน

การเตรียมดิน

ขุดดินตากแดดและโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ อัตรา 100 กรัม / ตารางเมตร ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยสูตร 12 – 24 – 12 และสูตร 15 – 0 – 0 รองพื้น ปุ๋ยคอกอัตรา 2 – 4 ตัน/ไร่

การเตรียมกล้า

เพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต วัสดุเพาะควรมีระบบน้ําดี

การปลูก

นําต้นกล้าที่เพาะไว้ อายุประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ มาปลูกโดยใช้ร ะยะ ปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ในฤดูร้อน และ 40 x 40 เซนติเมตร ในฤดูฝนเพื่อ ป้องกันการระบาดของโรค

การให้น้ํา

ควรให้น้ําอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอต่อการเจริญเติบโต การให้น้ำ ไม่ควรมากเกินไป อาจทําให้เกิดโรคโคนเน่า

การให้ปุ๋ย

หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0 ผสมสูตร 15 – 15 – 15 อัตราส่วน 1 : 1 ปริมาณ 50 กิโลกรัม /ไร่ พร้อมกําจัดวัชพืชหลังปลูก 20 – 25 วันใส่ปุ๋ยสูตร 13 – 13 – 21 โดยขุดร่องลึก 2 – 3 เซนติเมตร รอบโคนต้น รัศมีจาก ต้น 10 เซนติเมตร โรยปุ๋ย 1⁄2 ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ําพร้อมกําจัดวัชพืช 

    ข้อควรระวัง

1. ควรฉีดพ่นแคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tipburn) ในบางพื้นที่ซึ่งมีปัญหาขาดธาตุรอง

2. การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบกระเทือนรากหรือต้น เพราะจะมีผลต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์

3. ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม

การเก็บเกี่ยว

เมื่อผักกาดหวานมีอายุได้ประมาณ 40 – 60 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้หลังมือกดดูถ้าแน่นก็เก็บได้ ( กดยุบแล้วกลับคืนเหมือนเดิม ) ใช้มีดตัด และเหลือใบนอก 3ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียก ควรเก็บเกี่ยวตอนบ่ายหรือค่ำแล้ว ผึ่งลมในที่ร่มและคัดเกรด ป้ายปูนแดงที่รอยตัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัว แล้วบรรจุลงในพลาสติกเพื่อรอขนส่งต่อไป

    ข้อควรระวัง

1. ในฤดูฝน เก็บเกี่ยวก่อนผักโตเต็มที่ 2 – 3 วัน เพราะถ้าปล่อยให้ผักโตเต็มที่ผักจะเน่าง่าย

2. เก็บซากต้นนําไปเผา หรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาด และสะสมโรคในแปลงปลูก

คุณค่าทางโภชนาการ

ผักกาดหวานมีน้ําเป็นองค์ประกอบ และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังมีฮีโมโกลบิน ( hemoglobin ) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูกเหมาะสําหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

การใช้ประโยชน์

ผักกาดหวานเป็นพืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัดหรือกินกับยำ แต่สามารถประกอบอาหารได้ในบางชนิด เช่น นําไปผัดกับน้ํามันโดยใช้ไฟแรงอย่างรวดเร็ว



คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4


การปลูกกะหล่ำปม

กะหล่ำปม ( Kohlrabi )


ภาพโดย Holger Langmaier จาก Pixabay 


ชื่อวิทยาศาสตร์  Brassica caulorapa

กะหล่ำปม จัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae ( Cruciferae ) เป็นพืช ล้มลุก ที่ใช้บริโภคส่วนของลําต้นที่สะสมอาหาร ลักษณะทั่วไปของลําต้นส่วน เหนือดินจะเป็นปมพองออก ลักษณะกลมหรือกลมแป้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 – 10 เซนติเมตร มี 2 สี คือ เขียวและม่วง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่แกมรี ปลายแหลมถึงป้าน ขอบใบหยัก โดยเฉพาะส่วนใกล้โคน และเว้าลึกถึงเส้นกลางใบ ก้านใบเล็ก ยาว แผ่นใบมีนวล สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15 – 22゚C และควรได้รับแสงอย่างพอเพียง ดินที่ใช้ปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ําและอากาศดี ดินควรมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง 6 – 6.5 และมีความชื้นสูง ควรให้น้ําอย่างสม่ำเสมอ หากขาดน้ําจะทําให้ชะงัก การเจริญเติบโต คุณภาพปมไม่ดี มีเส้นใยมากรูปร่างปมไม่สวย



ภาพโดย PublicDomainPictures จาก Pixabay 


การเตรียมกล้า

เพาะกล้าแบบประณีต ในถาดหลุม อายุกล้า ประมาณ 20 วัน ไม่ควร เกิน 25 วัน แล้วย้ายปลูก หากต้นกล้าอายุมากจะทําให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน

ไถดินลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร ขุดดินตากแดดอย่างน้อย 14 วัน เก็บหญ้าและวัชพืชออกจากแปลง ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ย 15–15–15 ปูนขาว ปุ๋ยคอก อัตรา 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร และโบแรกซ์ อัตรา 1 กรัม /ตารางเมตร ผสมคลุกเคล้าในดินให้ทั่ว ปรับหน้าแปลงให้เรียบ

การปลูก

ทําหุลมลึก 6 – 8 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น และแถว 20 x 25 เซนติเมตร

การให้น้ํา

ควรให้น้ำสม่ำเสมอ 1 – 2 วัน/คร้ัง

การให้ปุ๋ย

ประมาณ 7 – 10 วันหลังจากย้ายปลูกใส่ปุ๋ย 15–15–15 และ 46–0–0 อัตรา 1:2 ปริมาณ 20 – 30 กรัม/ตารางเมตร การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ห่างจาก ครั้งแรก 15 วัน ใสปุ๋ย 13 – 13 – 21 อัตรา 20 – 25 กรัม/ตารางเมตร การใส่ปุ๋ยใช้วิธีขีดร่องรอบต่นลึก 2 – 3 เซนติเมตร โรยปุ๋ยลงร่องกลบดินแล้วรดน้ํา ทําการกําจัดวัชพืช พร้อมกับการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง หากพืช แสดงอาการอ่อนแอหรือขาดธาตุ ใหฉีดพ่นธาตุอาหารเสริม

    ข้อควรระวัง

1. เวลาพูนดินโคนต้น ระวังอย่าให้ใบหัก และรากขาด

2. ควรย้ายกล้า ตามกําหนดเวลา หากล่าช้า หัวจะแคระแกรน

3. ควรให้น้ําอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการแตกของหัว

4. เมื่อพืชเริ่มสร้างหัวให้ฉีดพ่นโบรอน ทุก 7 วัน

การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อผลสีเขียวอ่อน ผลไม่แก่จนเกินไป

คุณค่าทางโภชนาการ

ให้คุณค่าทางอาหารและวิตามินสูง โดยเฉพาะวิตามิน เอ และเกลือแร่ต่าง ๆ



ภาพโดย Urszula จาก Pixabay 


การใช้ประโยชน์

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ส่วนของลําต้นทีมีลักษณะเป็นปมสะสมอาหาร และใบอ่อน โดยส่วนของลําต้น สามารถรับประทานสดในสลัด หรือนําไปประกอบอาหารชนิดต่างๆ เช่น ผัดน้ํามันหอย ต้มจับฉ่าย ต้มซุป ผัดกับเนื้อสัตว์ อาหารทะเล หรือผัดใส่ไข่ หรือนํามาใช้แทนมะละกอในส้มตํา ใบอ่อนสามารถนํามาต้ม หรือผัดน้ํามันหอย




คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4



การปลูกปวยเหล็ง

ปวยเหล็ง (Spinach)


ภาพโดย Miroslav Sárkozy จาก Pixabay 


ชื่อวิทยาศาสตร์  Spinacia oleraceal

ปวยเหล็ง มีถิ่นกําเนิดอยู่แถบทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียและแถบอัฟกานิสถาน เป็นพืชอายุสั้น ลําต้นเป็นกอจะมีกาบใบซ้อนกันเป็นกอ คล้ายผักกวางตุ้ง รากจะเป็นระบบรากแก้ว ก้านและใบจะมีความยาว 10 – 15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเล็กน้อย ปลายใบค่อนข้างมน ก้านใบจะกลวง ใบค่อนข้างหนาเป็นมันสีเขียวค่อนข้างเข้ม ใต้ใบมีขนอ่อน ๆ ชอบอากาศหนาวเย็น ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อย ราคาและผลตอบแทนค่อนข้างสูง หากปลูกในช่วงฤดูฝน

ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรดเป็นด่างของ ดิน 6.0 – 6.8 มีการระบายน้ําดี พื้นที่ปลูกจะอยู่ที่ระดับ 1,000 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ําทะเล สามารถปลูกได้ตลอดปี อุณหภูมิที่เหมาะสมสําหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 18 – 20゚C

การเตรียมดิน

เนื่องจากเป็นพืชที่หว่านเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง ควรเลือกดิน ที่ร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีหน้าดินลึก ระบายน้ําได้ดี ปวยเหล็งเป็นผักที่ชอบดินที่มีสภาพเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 6.0 – 6.8 ดังนั้นจึงควรมีการหว่านปูนขาวทุกครั้งที่เตรีมดินเพื่อปลูกปวยเหล็ง แล้วทําการขุดพลิกดินตากแดดไว้

7 – 15 วัน แล้วจึงย่อยดินและขึ้นแปลง รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 1,500 – 2,000 กิโลกรัม/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 12 – 24 – 12 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าผสมให้ท่ัวแปลง แล้วทําการขีดร่องตามขวางของแปลง แต่ละร่องห่างกัน 10 – 12 เซนติเมตร

การปลูก

เนื่องจากที่เปลือกหุ้มของเมล็ดมีสารจำกัดการงอกอยู่ ดังนั้นให้ใช้ผ้าเปียกหมาด ๆ หุ้มเก็บรักษาในอุณหภูมิ 5゚C ( ตู้เย็นชั้นรองช่องน้ําแข็ง ) 3 – 5 วันหรือแช่เมล็ดในจิบเบอเรลลิกแอซิก เข้มข้น 100 ppm เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะช่วยให้อัตราความงอกสูงขึ้น

ทําการปลูกโดยใช้ไม้ขีดบนแปลงให้เป็นร่องตามขวางแปลงลึก 1 – 2 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดลงในร่องให้แต่ละเมล็ดห่างกันประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วกลบดิน หลังจากเมล็ดงอกแล้ว 7 – 10 วัน ถอนแยก เนื่องจากในการหยอดเมล็ด อาจจะหยอดถี่เกินไป

การให้น้ํา

การให้น้ําปวยเหล็งเป็นสิ่งสําคัญมาก ควรมีการให้น้ําวันละ 2 ครั้ง คือตอนเช้าและตอนเย็น ถ้าปวยเหล็งขาดน้ําจะทําให้ต้นแคระแกร็น และใบจะ เหลือง หากมีการปลูกในช่วงฤดูฝนควรทําโรงเรือนพลาสติก เพื่อป้องกันนํ้าฝนท่ีจะตกลงมาทําให้ปวยเหล็งเสียหายได้

การให้ปุ๋ย

เมื่อต้นกล้าอายุได้ 15 วันให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46 – 0 – 0 และ 13 – 13 – 21 อัตรา 1 : 1 ปริมาณ 50 กิโลกรัม/ไร่ (โรยระหว่างแถวและพรวนดินกลบ )



ภาพโดย trang nguyen thi thu จาก Pixabay 


การเก็บเกี่ยว

อายุการเก็บเกี่ยวหลังจากหยอดเมล็ด ประมาณ 30 – 45 วัน ให้ทําการถอนหรือตัดทั้งลําต้น ลอกใบที่เหลืองและเป็นโรคออก ทําความสะอาด และ ผึ่งก่อนทําการบรรจุ การเก็บเกี่ยวควรเก็บตอนเย็น หรือตอนเช้า รีบบรรจุภาชนะโดยเร็ว

คุณค่าทางโภชนาการ

ปวยเหล็ง ประกอบไปด้วยคุณค่าทางอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และมีสารเบต้าแคโรทีน และวิตามินซี เป็นจํานวนมาก ช่วยบํารุงสายตา ผิวพรรณ ทําให้กระดูกแข็งแรงและ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

การใช้ประโยชน์

การบริโภคจะนํามาบริโภคทั้งลําต้น โดยจะตัดรากทิ้งไป และนําส่วนที่เหลือไปประกอบอาหาร ได้แก่ ผัดไฟแดง ต้มจืด สุกี้ หรือ ผัดใส่หมู ใส่ไก่



คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4


การปลูกหอมญี่ปุ่น

หอมญี่ปุ่น (Bunching Onion)



Image by Freepik


ชื่อวิทยาศาสตร์  Allium fistulosum L .

หอมญี่ปุ่น เป็นพืชอายุยาว ต้องการดินร่วนซุยหน้าดินลึกระบายน้ําดี และมีอินทรีย์วัตถุสูง ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0 – 6.8 ลักษณะทั่วไป ประกอบด้วยราก ซึ่งเป็นระบบรากฝอยลําต้นจริงจะมีลักษณะเป็นแผ่นอยู่ระหว่างรากและใบ ใบมีลักษณะเป็นหลอดยาว คล้ายใบหอมขนาดใหญ่ ส่วนที่นํามาบริโภค คือ ลําต้นเทียมซึ่งมีลักษณะกลมยาวสีขาวเป็นส่วนของกาบใบ ( scape ) ทําหน้าท่ีสะสมอาหาร ซึ่งจะขยายตัวตามยาว ทําให้มีลําต้นเทียมสูง 25 – 75 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 7 เซนติเมตร การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและแยกกอ

การเตรียมกล้า

1. แปลงเพาะกล้าในฤดูฝนอยู่ภายใต้หลังคาพลาสติก ฤดูร้อน/หนาว ใช้อุโมงค์ตาข่าย

2. บ่มเมล็ด โดยแช่เมล็ดในน้ําผสมยากันรานาน 15 นาที ผึ่งเมล็ด ไว้นาน 30 นาที ห่อด้วยผ้าไว้ 1 คืน แล้วนําเมล็ดไปหยอดในแปลงเพาะกล้า

3. ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 12 – 24 –12 และปูนขาว อัตรา 30 กรัม/ตารางเมตร และปุ๋ยคอกปริมาณ 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร คลุกเคล้าให้ทั่วแปลงรดน้ําให้ชุ่ม

4. ขีดร่องขวางแปลงลึก 1 เซนติเมตร ห่าง 10 เซนติเมตร หยอดเมล็ดที่บ่มแล้วห่างกัน 1 เซนติเมตร กลบด้วยดินบาง ๆ แล้วคลุมด้วยฟาง

5. ต้นกล้าอายุได้ 25 วัน และ 50 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 และยูเรีย

6. รดน้ําวันละ 1 ครั้ง อายุได้ 2 เดือน ย้ายปลูก

7. ต้นกล้าย้ายปลูกตัดปลายให้สูงกว่ายอด 2 เซนติเมตร ตัดราก เหลือ 1 เซนติเมตร แช่รากในน้ําผสมไดแทนเอ็ม 45 นาน 10 นาที ก่อนปลูก

การเตรียมดิน

ไถหรือขุดดินให้ลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ใส่ปูนขาว ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ทิ้งไว้ 10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักและรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15–15–15 อัตรา 20 กรัม /ตารางเมตร คลุกเคล้าให้ เข้ากัน

การปลูก

ก่อนปลูกควรรดน้ําให้แปลงมีความชุ่มชื้น แล้วทําการปลูกโดยขุดร่องลึก 3 เซนติเมตร ห่างกัน 80 เซนติเมตร

หลังปลูก 20 วันโรยปุ๋ยสตูร 21–0–0 และ 15–15–15 อัตรา 20 กรัม /ตารางเมตร ลงในร่องปลูก แล้วกลบดินพูนโคน อายุได้ 40 วันโรยปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 แล้วกลบดินพูน โคนต้นถึงในระดับใบล่าง

การเก็บเกี่ยว

เก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ 60 — 80 วัน หัวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 – 8 เซนติเมตร เลือกหัวที่มีทรงกลมไม่มีรอยแตกหรือรอยแยก ตัดใบออกใหเหลือก้านใบ ไม่เกิน 3 เซนติเมตร ล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง

คุณค่าทางโภชนาการ

ประกอบด้วยโปรวิตามิน เอ และซี

การใช้ประโยชน์

ส่วนที่นำมาบริโภคคือลําต้นเทียมที่มีลักษณะกลมยาวสีขาว นํามา ประกอบอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดน้ํามันหอย ผัดกับอาหารทะเลหรือตุ๋น



คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4


วิธีพิมพ์เครื่องหมาย ° (องศา) บนเครื่อง Mac

วิธีพิมพ์เครื่องหมาย ° (องศา) บนเครื่อง Mac


เปลี่ยนแป้นพิมพ์เป็นอังกฤษ แล้วกด Shift + option + 8


-30°    0°    10°    90°    100°    180°    360°



การปลูกฟักแม้ว หรือ ชาโยเต้

ชาโยเต้ ( Chayote )



ภาพโดย Edeni Mendes da Rocha Teka จาก Pixabay

 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Sechium edule (Jacq.)

ชาโยเต้ หรือฟักแม้ว จัดอยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae หรือ Gourd Family มีถิ่นกําเนิดทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกและแถบอเมริกากลาง ลําต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามค้าง ผลมีลักษณะยาวรี สีเขียวอ่อน ผิวขรุขระ เป็น พืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถบริโภคได้ทั้งยอดและผล การปลูกและดูแลรักษาง่าย โรคและแมลงน้อย 

สามารถปลูกทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ําทะเลตั้งแต่ 500 – 1,700 เมตร สภาพอากาศเย็นอุณหภูมิท่ีเหมาะสมอยู่ระหว่าง 13 – 21゚C หากอุณหภูมิต่ำกว่า 5゚C จะเป็นอันตรายต่อยอดอ่อน การปลกูในสภาพอุณหภูมิสูงกว่า 28゚C จะเร่งอัตราการเจริญทางลําต้นและใบให้สูงขึ้น แต่ดอกและผลจะร่วง

สําหรับสภาพดินที่ทําการปลูกเป็นดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ หน้าดินลึกและมีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6 – 6.8 ได้รับแสงแดดและน้ําอย่างพอเพียง

การเตรียมดิน

ขุดพลิกดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน รองก้นหลุมด้วยมูลไก่ 1 กิโลกรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 30 กรัมต่อหลุม ควรรองก้นหลุมด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มา ป้องกันโรคเน่าที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

การปลูก

การปลูก มี 2 แบบคือ

1. การปลูกเพื่อเก็บผล

    ใช้ระยะห่างระหว่างแถว/หลุม ประมาณ 2 x 2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้จํานวน 400 ต้น หรือหลุม ทําค้างสูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร โดยใช้เสาไม้ไผ่หรือเสาปูนทําเสาหลักแล้ว ใช้ไม้ไผ่รวก ทําค้างวางระหว่างเสาปูนเป็นราวไม่และใช้เชือกหรือลวดขึงเป็นตารางให้ตึง หรืออาจทําลักษณะค้างคล้ายกับค้างองุ่น

    ใช้ระยะห่างระหว่างแถว/หลมุ 0.5 – 0.75 เมตร x 1 – 1.5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ปลูก ใช้ค้างไม้รวกหรือไม้เนื้อแข็งสูงประมาณ 2 – 2.50 เมตรไขว้กัน ใช้ไม้วางตรงกลางผูกเชือกให้แน่น

    สําหรับในแปลงปลูกเพื่อเก็บผลอ่อนควรมีการตัดแต่ง ใบแก่ และ เถาแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกบ้าง เพื่อให้ชาโยเต้ออกผลได้ดี

2. การปลูกเพื่อเก็บยอด

    การปลูกเพื่อเก็บยอด เกษตรกรที่ปลูกโดยทั่วไปจะไม่ทําค้างเพราะ ไม่สะดวก เกษตรกรจะใช้ระยะการปลูกแบบถี่ ระยะหลุม อยู่ระหว่าง 50 X 75 เซนติเมตร เพื่อให้ได้ปริมาณต้นมาก การเก็บยอดอ่อนโดยอาจต้องใช้หัวพันธุ์ 2 หัวต่อหลุม พื้นที่ 1 ไร่ ใช้หัวพันธุ์ประมาณ 3,200 – 6,400 หัว

    การเก็บยอดขาย จะเก็บยอดอ่อนยาวประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร หรือประมาณ 1 ศอก นำมาตัดแต่ง เอาใบแก่ออกมัดเป็นกำ

วิธีการปลูก

1. นําผลที่แก่เต็มที่ปลอดเชื้อไวรัส ไปชําในกระบะทรายไว้ในที่ร่ม ที่มีความชื้นพอสมควร รอให้แตกรากจึงย้ายปลูก

2. การปลูกลงแปลง นําหัวพันธุ์ที่แก่เต็มที่และงอกต้นอ่อนแล้ววาง กลางหลมุที่เตรียมไว้กลบดิน 3ใน 4 ของผลเหมือนการปลกูมะพร้าว เสร็จแล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ฟางข้าว เศษพืชเล็กน้อยแล้วรดนํ้าให้ชุ่ม

การให้น้ํา

รดวันละ 1 – 2 ครั้ง

การให้ปุ๋ย

ใส่ปุ๋ยสูตร 12 – 24 – 12 หรือ 15 – 15 – 15 สลับกับปุ๋ยคอกเป็นระยะประมาณ 2 เดือน/ครั้ง การปลูกชาโยเต้ส่วนใหญ่ไม่จําเป็นต้องใช้สารเคมี กําจัดศัตรูพืช เนื่องจากไม่มีศัตรูรบกวนมากนัก การดูแลในระยะแรกอาจจะต้อง กําจัดวัชพืช เมื่อชาโยเต้ตั้งตัวได้ไม่จําเป็นต้องกําจัดวัชพืชเพียงแต่ดูแลการใส่ ปุ๋ยและให้น้ํา

การเก็บผลผลิต

การเก็บผลอ่อน

เริ่มเก็บผลได้เมื่ออายุ4–5เดือน ผลจะออกเป็นรุ่นๆ ละ 45 วัน ขนาดผลที่เก็บเพื่อบริโภคควรมีผิวสีเขียวอ่อนหรือสีเขียว หนักประมาณ 250 – 400 กรัม/ผล

การเก็บยอด

ตัดยอดอ่อนได้หลังการปลูกประมาณ 2 เดือน จะเก็บยอดอ่อนยาวประมาณ 40 – 50 เซนติเมตรทุก 2 – 3 วัน ผลผลติ เฉลีย 200 – 300 กิโลกรัม /ไร่ โดยเฉลี่ย สัปดาห์ละ 400 กิโลกรัม /ไร่

ข้อควรระวังในการปลูกชาโยเต้

ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่ ไม่สามารถระบายน้ําได้ดี เนื่องจากชาโยเต้ อ่อนแอต่อการถูกน้ําท่วมขัง

คุณค่าทางโภชนาการ

ชาโยเต้ประกอบไปด้วยคุณค่าอาหารหลายชนิด ได้แก่วิตามนซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส บํารุงกระดูกและฟัน ป้องกันหวัด ผลและเมล็ด ประกอบด้วย กรดอะมิโนที่สำคัญ เช่น aspartic acid glutamic acid alanine orgin cistien phenylalanine glycine histidine isoleuucine leucine metionine proline serine tyrosine threoninee and valine น้ําต้มใบและผลช่วยขับปัสสาวะและสลายนิ่วในไต

การใช้ประโยชน์

ส่วนที่ใช้บริโภคคือส่วนของยอดอ่อนและผลอ่อน มีการบริโภคอย่าง แพร่หลาย และมีรสชาติอร่อย จัดเป็นผักปลอดสารพิษ ยอดชาโยเต้ก็ เช่นเดียวกับผักทั่วไป นํามาต้มจิ้มน้ําพริก ต้มจืด แกงเลียง ลาบ ผัดหมู ผัดน้ํามันหอย ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ส่วนผลของชาโยเต้ก็นำไปปรงุ เป็นผัก ต้มจืด แกงส้ม ลวก หรือต้ม จิ้มกับน้ําพริก



คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4  






การปลูกเซเลอรี่

 เซเลอรี่ (Celery)



ภาพโดย Beverly Buckley จาก Pixabay


ชื่อวิทยาศาสตร์  Apium graveolens var.

เซเลอรี่ เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพาร์สเลย์ มีลําต้นเป็นกอ มีกาบใบ ซ้อนกัน ก้านใบอวบหนาและกรอบ ใบจะหยักคล้ายฟันเลื่อย ความสูงของลําต้น ( กอ ) ประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร ถ้าต้นเล็กจะเหมือนต้นคื่นฉ่าย มีถิ่นกําเนิดแถบสวีเดนถึงอียิปต์และอบิสซิเนีย ในเอเชียพบแถบคอเคซัสถึงอินเดีย เป็นพืชท่ีต้องการดูแลเอาใจใส่ อย่างปราณีตจึงจะได้ผลผลิตสูง ดินปลูกต้องมีความอุดมสมบูรณ์ ต้องการความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ชอบสภาพอากาศ เย็นอณุหภมู ที่ เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15.5 – 18 ゚C และไม่ควรเกิน 24 ゚C สามารถปลูกได้ตลอดปีในพื้นที่สูงจากระดับน้ําทะเล 800 – 1,400 เมตร

การเตรียมกล้า

เพาะกล้าอย่างประณีตในถาดหลุม ซึ่งมีส่วนผสมของดินร่วนกับ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 1 : 1 เมื่อต้นกล้าอายุได้ 25 วัน ย้ายลงถุงเพาะ ขนาด 4 x 6 นิ้ว ที่มีส่วนผสมของดินร่วนกับมูลไก่ อัตรา 2 : 1 แล้วย้ายกล้า ลงถุง 20 – 25 วัน ย้ายลงปลูกในแปลง

การเตรียมแปลง

เลือกพื้นที่โล่งแจ้งเพื่อให้ได้รับแสงอย่างเต็มที่ ขุดดินตากแดด ทิ้งไว้อย่างน้อย 14 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 15 – 20 กรัม/ตารางเมตร ปุ๋ยคอกอัตรา 2 – 4 กิโลกรัม/ตารางเมตร ผสมคลุกเคล้ากับดินทั่วแปลง

การปลูก

ย้ายกล้าจากถุงเพาะลงแปลง โดยเลือกต้นกล้าที่มีขนาดเท่ากันปลูกในแปลงเดียวกัน การปลูกอาจจะปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะปลกู 40 x 30 เซนติเมตร ในฤดูหนาว ฤดูฝน ใช้ระยะปลูก 25 x 25 เซนติเมตร ดูแลรักษาต้นเซเลอรี่อย่าให้ขาดนํ้า ถ้าขาดจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นฟ่ามเส้นใยมาก รสชาติไม่ดีและก้านใบจะเกิดอาการไส้กลวง เมื่อเซเลอรี่อายุได้ 25 – 30 วันหลังย้ายปลูกลงแปลง เก็บวัชพืชออกเด็ดหน่อที่เกิด ใหม่ทิ้ง พร้อมใส่ปุ๋ย 15–15–15 และสูตร 21–0–0 หรือสูตร 15–0–0 อัตราผสมจํานวน 50 กิโลกรัม /ไร่ โดยโรยปุ๋ยรอบโคนต้น หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15–15–15 และ 15–0–0 ในอัตราผสมจำนวน 50 กิโลกรัม /ไร่ สัดส่วน 2 : 1 และ ปุ๋ยมูลไก่อัตรา 3 กำ มือ/ ต้น

การเก็บเกี่ยว

เก็บเกี่ยวเมื่อต้นมีความสูงประมาณ 45 เซนติเมตรขลบชึ้นไป ( อายุ 2.5 – 3.5 เดือน ) ใช้มีดตัดตรงโคนต้นที่ระดับดิน ล้างให้สะอาดผึ่งให้แห้งตัดแต่งก้านใบให้มีความยาวของก้านประมาณ 30 – 35 เซนติเมตร คัดเลือกส่วนที่มีตำหนิและก้านใบที่ตั้งไม่ตรงทิ้งไป บรรจุใส่ภาชนะเพื่อเตรียมขนส่งตลาดต่อไป

คุณค่าทางโภชนาการ

เซเลอรี่มีโซเดียมต่ำ จึงมีสรรพคุณในการช่วยลดความดันโลหิต เหมาะสําหรับผู้ที่เป็นโรคไต



ภาพโดย Ineta Lidace จาก Pixabay 


การใช้ประโยชน์

เริ่มแรกใช้ประโยชน์จากเซเลอรี่เป็นยาสมุนไพร ใช้ขับปัสสาวะแก้อาการปวดข้อ หลังจากนั้นจึงนํามาบริโภคในส่วนของก้านใบที่ไม่แก่จนเกินไป โดยนํามาประกอบอาหารได้หลายอย่างใช้รับประทานดิบ ๆ คั้นน้ําดื่ม ตุ๋นรวมกับผักอื่นๆ ผัดใส่หมู ปลา ไก่ หรือเครื่องในสัตว์ต่าง ๆ


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4

การปลูกผักกาดหอมห่อ

 ผักกาดหอมห่อ  (Head Lettuce, Iceberg type, Crisp Lettuce)


ภาพโดย Esther Merbt จาก Pixabay


ชื่อวิทยาศาสตร์  Lactuca sativa var. capitata

ผักกาดหอมห่อ สลัดปลี ผักกาดแก้ว หรือสลัดแก้ว จัดอยู่ในวงศ์ Asteraceae ( Compositae ) ชื่อ Head Lettuce เป็นผักรับประทานใบ เนื้อใบหนา กรอบเป็นแผ่นคลื่น ห่อเป็นหัว เป็นพืชที่ปลูกง่าย ตลาดมีความต้องการสูง เป็น พืชอายุปีเดียว ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนซุยมีหน้าดินลึก มีอินทรียวัตถุสูง ความเป็นกรดเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 6.0 – 6.5 ความชื้นพอสมควร อุณหภูมิเหมาะสมอยู่ระหว่าง 15 – 20 ゚C สามารถปลูกได้ตลอดปี ควรปลูกในที่ๆมีการระบายน้ําดี เนื่องจากผักกาดหอมห่อจะมีระบบรากตื้นและอ่อนแอ ไม่สามารถเจริญได้ดีในสภาพที่มีน้ําขัง

การเตรียมต้นกล้า

เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมห่อจะพักตัวในอุณหภูมิสูง และจะงอกในอุณหภูมิต่ำ การทําลายการพักตัวสามารถทําได้โดยการใช้ผ้าเปียกหมาด ๆห่อหุ้ม และเก็บไว้ในอุณหภูมิ 4 – 6 ゚C เป็นเวลา 2 – 3 วัน หรือนําเมล็ดไปแช่ใน Thiourea เข้มข้น 0.5 % หรือโพแทสเซียมไนเตรทเข้มข้น 0.1 – 0.2 % เมื่อเมล็ดงอกเป็นตุ่มรากสีขาว นําไปเพาะในถาดหลุม ใช้วัสดุที่มีความร่วนซุย โดยทั่วไปจะใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยคอกเก่า ผสมขี้เถ้าแกลบ อัตรา 1 : 1 : 1 ในระยะ ต้นกล้าผักกาดหอมห่อจะต้องการปริมาณธาตุอาหารปานกลาง เนื่องจากต้นกล้าไม่สามารถเจริญได้ดีในดินที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง

การเตรียมดิน

ไถดินลึก 20 – 30 เซนติเมตร และโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ อัตรา 50 – 100 กรัม/ตารางเมตร ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 2 – 4 ตัน/ไร่ ผสมคลุกเคล้าให้ทั่วแปลง ใส่ปุ๋ย สูตร 12 – 24 – 12 และ 15 – 0 – 0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ สัดส่วน 1 : 1 รองพื้น

การย้ายปลูก

ย้ายปลูกเมื่อมีใบจริง 3 – 4 ใบ ควรระวังอย่าให้ดินที่หุ้มรากแตก นําลงปลูกในแปลงลึก 10 – 15 เซนติเมตร โดยใช้ระยะปลูก 20 – 50 x 30 – 50 เซนติเมตร

การให้ปุ๋ย

ใส่ปุ๋ยสูตร 12 – 24 – 12 ใส่ก่อนปลูกอัตรา 40 กิโลกรัม/ไร่ และหลังปลูก 30 วัน ใส่อัตรา 12 กิโลกรัม/ไร่ และใส่แคลเซียม แอมโมเนียไนเตรท ( 15 – 0 – 0 ) หลังปลูกในระยะที่เริ่มเจริญและใส่ปุ๋ยสูตร 13 – 0 – 46 ในระยะที่ เริ่มเข้าปลี ผักกาดหอมห่อมีความต้องการธาตุอาหารสูงในระยะแรกของการ เจริญเติบโต เพื่อเป็นอาหารในการสร้างต้น ใบ และหัว

โดยทั่วไป ธาตุอาหารรองจะมีผลต่อการเจริญของผักกาดหอมห่อน้อยมาก แต่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง มีความชื้นสูงหรือต่ำเกินไปจะทําให้เกิดการขาดแคลเซียมและทําให้เกิดอาการปลายใบไหม้ ( tip bum ) ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำผักกาดหอมห่ออาจจะแสดงอาการ ขาดธาตุโบรอน ทองแดง และ/หรือ โมลิบดีนัม โดยเฉพาะการปลูกในโรงเรือนจะขาดธาตุอาหาร รองได้ง่าย ควรฉีดพ่นด้วยปุ๋ยที่มีธาตุรองทุกอาทิตย์ 

การให้น้ํา

เนื่องจากผักกาดหอมห่อมีระบบรากตื้น ดังนั้นจะต้องให้ความชื้น สม่ำเสมอ โดยเฉพาะในฤดูร้อนดินจะแห้งเร็ว ทําให้พืชแสดงอาการขาดน้ําได้ง่ายหรือในฤดูฝนในพื้นที่ ๆ มีน้ําขังจะทําให้รากชะงักการเจริญและเน่าตายได้

การให้น้ําแบบพ่นฝอย ควรให้ในระยะแรกของการเจริญเติบโต หรือในฤดูร้อนและหยุดเมื่อเริ่มเข้าปลีเพราะจะทําให้เกิดโรคทางใบ ควรเปลี่ยนมาใช้ระบบน้ําหยดแทน ทั้งนี้ อาจจะมีการให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ําแบบน้ําหยด จะทําให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูงขึ้น

การเก็บเกี่ยว

เมื่ออายุประมาณ 40 – 50 วัน หลังปลูกใช้มือกดดู หัวแน่นก็สามารถเก็บผลผลิตได้ ควรหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนหัวผักสลัดเปียกควรเก็บตอนบ่าย อย่าล้างผัก ทําการคัดเกรดใช้มีดตัดบริเวณโคนต้น ตัดแต่งใบรอบนอก ให้เหลือ 3 – 4 ใบ แล้วป้ายปูนแดงที่รอยตัดเพื่อป้องกันเชื้อโรค เสร็จแล้วบรรจุในภาชนะ แต่ต้องผึ่งลมให้แห้งเสียก่อน

คุณค่าทางโภชนาการ

ผักกาดหอมห่อเป็นพืชที่มีวิตามินซีสูง โดยเฉพาะผักกาดหอมห่อที่มีใบสีแดง นอกจากนี้ยังมีฮีโมโกลบิน ( hemoglobin ) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูกเหมาะสําหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

การใช้ประโยชน์

ผักสลัดหอมห่อใช้ประกอบอาหารประเภท ยํา ลาบ ทําแกงจืด เป็นเครื่องจิ้ม หรือตากแห้ง แล้วหมักเกลือเก็บเอาไว้ รับประทาน


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4

การปลูกกะหล่ำปลีแดง

 กะหล่ำปลีแดง ( Red Cabbage )



ภาพโดย İbrahim Güvener จาก Pixabay 


ชื่อวิทยาศาสตร์  Brassica oleracea var. rubra

กะหลํ่าปลีแดง จัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae ( Cruciferae ) เป็นพืชล้มลุกสองปี มีลักษณะคล้ายกะหล่ำปลีธรรมดาแต่มีสีแดง เนื่องจากใบมีสาร anthocyanin จํานวนมาก ลักษณะลําต้นสั้นมาก ใบเรียงตัวสลับซับซ้อนกันแน่น หลายชั้น หัวกลมหรือค่อนข้างกลม

กะหล่ำปลีแดง สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินที่มี ลักษณะโปร่งและร่วนซุย มีความชื้นในดิน และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง อยู่ในช่วง 6 – 6.5 สําหรับอุณหภูมิท่ีเหมาะสมสําหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20゚C

การเตรียมดิน

กะหล่ำปลีแดง สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วน ปนทราย ไถดินให้ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ตากแดดทิ้งไว้ ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 3 – 4 ตัน/ไร่ และปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 50 ตารางเมตร/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วพรวนดินให้ละเอียด ยกทําแปลง กว้าง 1 เมตร ปลูก 2 แถว ความยาวแล้วแต่สะดวก

การปลูก

การปลูกกะหล่ำปลีแดงที่นิยมทําได้ 2 แบบ คือ

1. การหยอดเมล็ดในแปลงปลูก เหมาะสําหรับพื้นที่ที่เตรียมดินดีแล้ว จึงเหมาะต่อการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตระยะแรกควรให้น้ํา สม่ำเสมอ วิธีนี้ประหยัดแรงงานและเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น แต่มีข้อเสียต้องใช้เมล็ด มากและจะต้องถอนให้เหลือ 1 ต้น เมื่อเริ่มมีใบจริง

2. การย้ายกล้าปลูก วิธีนี้จะต้องมีการเตรียมแปลงเพาะกล้าอย่างดี จะต้องยกแปลงสูง เพื่อสะดวกในการระบายน้ํา ควรใช้ทรายกลบบนแปลงให้หนา ประมาณ 1 – 2 นิ้ว แล้วจึงหว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูก ความกว้างของแปลง 1 เมตร ความยาวข้ึนกับพื้นที่ เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2 – 3 ใบจึงย้ายปลูก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 40 เซนติเมตร ระหว่างต้น 40 เซนติเมตร การปลูกจะปลูก เป็นแบบแถวเดียวหรือแถวคู่ก็ได้

การใส่ปุ๋ย

เนื่องจากกะหล่ำปลีแดงต้องการปุ๋ยไนโตรเจน และโปตัสเซียมใน ปริมาณสูง ควรใช้ปุ๋ยสูตร 13 – 13 – 21 หรือ 14 – 14 – 21 ในอัตรา

100 – 150 กิโลกรัม/ไร่ ควบคู่ไปกับการให้ปุ๋ยไนโตรเจน ( 15 – 0 – 0 ) ใน อัตรา 20 – 25 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งการให้ปุ๋ยเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่เพียงครึ่งหนึ่ง โดยใส่รองพื้นขณะปลูก ครั้งที่สองใส่ปุ๋ยที่เหลืทั้งหมด เมื่อพืชอายุประมาณ 14 วัน หลังจากย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยใส่แบ่งโรยข้างต้นอายุ 20 วัน และ 40 วัน

การให้น้ํา

สําหรับการให้น้ํา ควรให้อย่างพอเพียง เนื่องจากกะหล่ำปลีแดงเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินมาก ระยะที่กะหล่ำปลีแดงต้องการน้ํามากที่สุด ได้แก่ ระยะเริ่มห่อปลีและระยะการเจริญเติบโตเต็มที่ ( ประมาณ 4 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว )

การเก็บเกี่ยว

อายุของกะหล่ำปลีแดงแต่ละพันธุ์ไม่เหมือนกัน สําหรับพันธุ์ท่ีนิยม ปลูกบ้านเรา เก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 50 – 60 วัน ถ้าเป็นพันธุ์หนักอายุ ประมาณ 120 วัน โดยสังเกตได้จากหัวดอกกะหล่ำปลีแดงจะแน่น มีสีแดงชัดเจน การตัดกะหล่ำควรจะส่งถึงตลาดให้เร็วที่สุด



ภาพโดย congerdesign จาก Pixabay 


คุณค่าทางโภชนาการ

กะหล่ำปลีแดงเป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูง และอุดมไปด้วยคุณค่า สารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน ( สาร indoles ซึ่งเป็นผลึกที่แยกมาจาก trytophan กรดอะมิโนที่จําเป็นต่อร่างกาย ) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซี ซึ่งพบค่อนข้างมากกว่ากะหล่ำปลีสีเขียวถึงสองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรค เลือดออกตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์ ( sulfer ) ช่วยกระตุ้นการทํางานของลําไส้ใหญ่ และต้านสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีแดงบ่อยๆจะช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับ คลอเรสเตอรอล และช่วยระงับประสาท ทําให้นอนหลับได้ดี นํ้ากะหล่ำปลีแดง คั้นสด ๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ อย่างไรก็ตาม กะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทํางานของต่อมไทรอยด์ ทําให้นําไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควรกินกะหลํ่าปลีแดงสดๆ วันละ 1 – 2 กิโลกรัม แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป

การใช้ประโยชน์

นํามาใช้ตกแต่งอาหารหรือแกะสลัก แต่งร่วมกับสลัดผัก รับประทานดิบกับเครื่องจิ้ม ดอง ตุ๋นกับเนื้อสัตว์แบบอาหารจีน


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4