ปวยเหล็ง (Spinach)
ภาพโดย Miroslav Sárkozy จาก Pixabay
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spinacia oleraceal
ปวยเหล็ง มีถิ่นกําเนิดอยู่แถบทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียและแถบอัฟกานิสถาน เป็นพืชอายุสั้น ลําต้นเป็นกอจะมีกาบใบซ้อนกันเป็นกอ คล้ายผักกวางตุ้ง รากจะเป็นระบบรากแก้ว ก้านและใบจะมีความยาว 10 – 15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเล็กน้อย ปลายใบค่อนข้างมน ก้านใบจะกลวง ใบค่อนข้างหนาเป็นมันสีเขียวค่อนข้างเข้ม ใต้ใบมีขนอ่อน ๆ ชอบอากาศหนาวเย็น ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อย ราคาและผลตอบแทนค่อนข้างสูง หากปลูกในช่วงฤดูฝน
ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรดเป็นด่างของ ดิน 6.0 – 6.8 มีการระบายน้ําดี พื้นที่ปลูกจะอยู่ที่ระดับ 1,000 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ําทะเล สามารถปลูกได้ตลอดปี อุณหภูมิที่เหมาะสมสําหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 18 – 20゚C
การเตรียมดิน
เนื่องจากเป็นพืชที่หว่านเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง ควรเลือกดิน ที่ร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีหน้าดินลึก ระบายน้ําได้ดี ปวยเหล็งเป็นผักที่ชอบดินที่มีสภาพเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 6.0 – 6.8 ดังนั้นจึงควรมีการหว่านปูนขาวทุกครั้งที่เตรีมดินเพื่อปลูกปวยเหล็ง แล้วทําการขุดพลิกดินตากแดดไว้
7 – 15 วัน แล้วจึงย่อยดินและขึ้นแปลง รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 1,500 – 2,000 กิโลกรัม/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 12 – 24 – 12 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าผสมให้ท่ัวแปลง แล้วทําการขีดร่องตามขวางของแปลง แต่ละร่องห่างกัน 10 – 12 เซนติเมตร
การปลูก
เนื่องจากที่เปลือกหุ้มของเมล็ดมีสารจำกัดการงอกอยู่ ดังนั้นให้ใช้ผ้าเปียกหมาด ๆ หุ้มเก็บรักษาในอุณหภูมิ 5゚C ( ตู้เย็นชั้นรองช่องน้ําแข็ง ) 3 – 5 วันหรือแช่เมล็ดในจิบเบอเรลลิกแอซิก เข้มข้น 100 ppm เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะช่วยให้อัตราความงอกสูงขึ้น
ทําการปลูกโดยใช้ไม้ขีดบนแปลงให้เป็นร่องตามขวางแปลงลึก 1 – 2 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดลงในร่องให้แต่ละเมล็ดห่างกันประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วกลบดิน หลังจากเมล็ดงอกแล้ว 7 – 10 วัน ถอนแยก เนื่องจากในการหยอดเมล็ด อาจจะหยอดถี่เกินไป
การให้น้ํา
การให้น้ําปวยเหล็งเป็นสิ่งสําคัญมาก ควรมีการให้น้ําวันละ 2 ครั้ง คือตอนเช้าและตอนเย็น ถ้าปวยเหล็งขาดน้ําจะทําให้ต้นแคระแกร็น และใบจะ เหลือง หากมีการปลูกในช่วงฤดูฝนควรทําโรงเรือนพลาสติก เพื่อป้องกันนํ้าฝนท่ีจะตกลงมาทําให้ปวยเหล็งเสียหายได้
การให้ปุ๋ย
เมื่อต้นกล้าอายุได้ 15 วันให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46 – 0 – 0 และ 13 – 13 – 21 อัตรา 1 : 1 ปริมาณ 50 กิโลกรัม/ไร่ (โรยระหว่างแถวและพรวนดินกลบ )
ภาพโดย trang nguyen thi thu จาก Pixabay
การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยวหลังจากหยอดเมล็ด ประมาณ 30 – 45 วัน ให้ทําการถอนหรือตัดทั้งลําต้น ลอกใบที่เหลืองและเป็นโรคออก ทําความสะอาด และ ผึ่งก่อนทําการบรรจุ การเก็บเกี่ยวควรเก็บตอนเย็น หรือตอนเช้า รีบบรรจุภาชนะโดยเร็ว
คุณค่าทางโภชนาการ
ปวยเหล็ง ประกอบไปด้วยคุณค่าทางอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และมีสารเบต้าแคโรทีน และวิตามินซี เป็นจํานวนมาก ช่วยบํารุงสายตา ผิวพรรณ ทําให้กระดูกแข็งแรงและ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
การใช้ประโยชน์
การบริโภคจะนํามาบริโภคทั้งลําต้น โดยจะตัดรากทิ้งไป และนําส่วนที่เหลือไปประกอบอาหาร ได้แก่ ผัดไฟแดง ต้มจืด สุกี้ หรือ ผัดใส่หมู ใส่ไก่
คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น