แรดิช ( Radish )
ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay
ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphanus sativus ,L.var.radicula.
แรดิช เป็นพืชตระกูลกะหล่ำ เจริญเติบโตเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี เป็นพืชสองฤดูแต่ปลูกเป็นพืชฤดูเดียว ส่วนที่นํามาบริโภคคือส่วนของรากสะสมอาหาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 5 เซนติเมตร
แรดิชอยู่ในกลุ่มพืชเขตหนาว อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15 – 20゚C หากอุณหภูมิสูงเกินไปจะมีการเจริญเติบโตทางใบมาก หัวมีขนาดเล็ก รูปทรงผิดปกติ เนื้อฟ่าม แข็ง และมีกลิ่นฉุน ดินปลูกต้องร่วนซุย หน้าดินลึก ระบายน้ําดี และมีอินทรีย์วัตถุสูง
การเตรียมดิน
โรยปูนขาวละเอียด อัตรา 100 กรัม/ตารางเมตร ขุดตากดินไว้ประมาณ 14 วัน แล้วเก็บวัชพืชทิ้ง ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยสูตร 12 – 24 – 12 อัตรา 30 กรัม/ตารางเมตร ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร และโบแรกซ์ อัตรา 1 กรัม/ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
การปลูก
แช่เมล็ดในน้ําอุ่นอุณหภูมิ 50゚C เป็นเวลา 25 – 30 นาที เพื่อกำจัดโรคที่ติดมากับเปลือกหุ้มเมล็ด นําออกมาผึ่งให้เปลือกแห้ง แล้วหยอดเมล็ด โดยทําร่องปลูกตามขวางของแปลงห่างกัน 5 – 10 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลึก 1 – 2 เซนติเมตร ห่างกัน 2.5 – 5.0 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับฤดูปลูก สายพันธุ์ และขนาดทรงต้น การปลูกถี่เกินไปทําให้หัวมีรูปร่างและขนาดไม่สม่ำเสมอ
แรดิชเป็นพืชที่ระบบรากตื้น อายุการเก็บเกี่ยวเร็ว ต้องการความชื้นพอเพียงและสม่ำเสมอ เพื่อการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตและมีคุณภาพสูง เมื่อแรดิชอายุได้ 10 – 15 วัน ถอนแยก กําจัดวัชพืชและละลายปุ๋ย
8–24–24 รด
การเก็บเกี่ยว
โดยทั่วไป จะเก็บเกี่ยวเมื่อแรดิชมีอายุ 21 – 40 วัน หลังหยอดเมล็ด ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสายพันธุ์ การเก็บเกี่ยวโดยการถอนด้วยมือ ตัดใบให้เหลือ ก้านใบยาว 5 เซนติเมตร อย่าให้สีผิวลอก ช้ำ คัดหัวที่มีตําหนิ รูปร่างผิดปกติทิ้ง
ภาพโดย Christine Sponchia จาก Pixabay
คุณค่าทางโภชนาการ
มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรตสูง และวิตามินชนิดต่างๆ
การใช้ประโยชน์
แกะสลัก ตกแต่งอาหารเพื่อความสวยงาม รวมกับสลัด รับประทานดิบ เป็นเครื่องจิ้ม ดองรวมกับผักชนิดอื่น ๆ ประกอบอาหาร เช่น ต้มซุป ต้มจืด
คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น