การปลูกกะหล่ำปม

กะหล่ำปม ( Kohlrabi )


ภาพโดย Holger Langmaier จาก Pixabay 


ชื่อวิทยาศาสตร์  Brassica caulorapa

กะหล่ำปม จัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae ( Cruciferae ) เป็นพืช ล้มลุก ที่ใช้บริโภคส่วนของลําต้นที่สะสมอาหาร ลักษณะทั่วไปของลําต้นส่วน เหนือดินจะเป็นปมพองออก ลักษณะกลมหรือกลมแป้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 – 10 เซนติเมตร มี 2 สี คือ เขียวและม่วง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่แกมรี ปลายแหลมถึงป้าน ขอบใบหยัก โดยเฉพาะส่วนใกล้โคน และเว้าลึกถึงเส้นกลางใบ ก้านใบเล็ก ยาว แผ่นใบมีนวล สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15 – 22゚C และควรได้รับแสงอย่างพอเพียง ดินที่ใช้ปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ําและอากาศดี ดินควรมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง 6 – 6.5 และมีความชื้นสูง ควรให้น้ําอย่างสม่ำเสมอ หากขาดน้ําจะทําให้ชะงัก การเจริญเติบโต คุณภาพปมไม่ดี มีเส้นใยมากรูปร่างปมไม่สวย



ภาพโดย PublicDomainPictures จาก Pixabay 


การเตรียมกล้า

เพาะกล้าแบบประณีต ในถาดหลุม อายุกล้า ประมาณ 20 วัน ไม่ควร เกิน 25 วัน แล้วย้ายปลูก หากต้นกล้าอายุมากจะทําให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน

ไถดินลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร ขุดดินตากแดดอย่างน้อย 14 วัน เก็บหญ้าและวัชพืชออกจากแปลง ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ย 15–15–15 ปูนขาว ปุ๋ยคอก อัตรา 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร และโบแรกซ์ อัตรา 1 กรัม /ตารางเมตร ผสมคลุกเคล้าในดินให้ทั่ว ปรับหน้าแปลงให้เรียบ

การปลูก

ทําหุลมลึก 6 – 8 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น และแถว 20 x 25 เซนติเมตร

การให้น้ํา

ควรให้น้ำสม่ำเสมอ 1 – 2 วัน/คร้ัง

การให้ปุ๋ย

ประมาณ 7 – 10 วันหลังจากย้ายปลูกใส่ปุ๋ย 15–15–15 และ 46–0–0 อัตรา 1:2 ปริมาณ 20 – 30 กรัม/ตารางเมตร การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ห่างจาก ครั้งแรก 15 วัน ใสปุ๋ย 13 – 13 – 21 อัตรา 20 – 25 กรัม/ตารางเมตร การใส่ปุ๋ยใช้วิธีขีดร่องรอบต่นลึก 2 – 3 เซนติเมตร โรยปุ๋ยลงร่องกลบดินแล้วรดน้ํา ทําการกําจัดวัชพืช พร้อมกับการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง หากพืช แสดงอาการอ่อนแอหรือขาดธาตุ ใหฉีดพ่นธาตุอาหารเสริม

    ข้อควรระวัง

1. เวลาพูนดินโคนต้น ระวังอย่าให้ใบหัก และรากขาด

2. ควรย้ายกล้า ตามกําหนดเวลา หากล่าช้า หัวจะแคระแกรน

3. ควรให้น้ําอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการแตกของหัว

4. เมื่อพืชเริ่มสร้างหัวให้ฉีดพ่นโบรอน ทุก 7 วัน

การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อผลสีเขียวอ่อน ผลไม่แก่จนเกินไป

คุณค่าทางโภชนาการ

ให้คุณค่าทางอาหารและวิตามินสูง โดยเฉพาะวิตามิน เอ และเกลือแร่ต่าง ๆ



ภาพโดย Urszula จาก Pixabay 


การใช้ประโยชน์

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ส่วนของลําต้นทีมีลักษณะเป็นปมสะสมอาหาร และใบอ่อน โดยส่วนของลําต้น สามารถรับประทานสดในสลัด หรือนําไปประกอบอาหารชนิดต่างๆ เช่น ผัดน้ํามันหอย ต้มจับฉ่าย ต้มซุป ผัดกับเนื้อสัตว์ อาหารทะเล หรือผัดใส่ไข่ หรือนํามาใช้แทนมะละกอในส้มตํา ใบอ่อนสามารถนํามาต้ม หรือผัดน้ํามันหอย




คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น