การปลูกผักกาดหอมห่อ

 ผักกาดหอมห่อ  (Head Lettuce, Iceberg type, Crisp Lettuce)


ภาพโดย Esther Merbt จาก Pixabay


ชื่อวิทยาศาสตร์  Lactuca sativa var. capitata

ผักกาดหอมห่อ สลัดปลี ผักกาดแก้ว หรือสลัดแก้ว จัดอยู่ในวงศ์ Asteraceae ( Compositae ) ชื่อ Head Lettuce เป็นผักรับประทานใบ เนื้อใบหนา กรอบเป็นแผ่นคลื่น ห่อเป็นหัว เป็นพืชที่ปลูกง่าย ตลาดมีความต้องการสูง เป็น พืชอายุปีเดียว ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนซุยมีหน้าดินลึก มีอินทรียวัตถุสูง ความเป็นกรดเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 6.0 – 6.5 ความชื้นพอสมควร อุณหภูมิเหมาะสมอยู่ระหว่าง 15 – 20 ゚C สามารถปลูกได้ตลอดปี ควรปลูกในที่ๆมีการระบายน้ําดี เนื่องจากผักกาดหอมห่อจะมีระบบรากตื้นและอ่อนแอ ไม่สามารถเจริญได้ดีในสภาพที่มีน้ําขัง

การเตรียมต้นกล้า

เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมห่อจะพักตัวในอุณหภูมิสูง และจะงอกในอุณหภูมิต่ำ การทําลายการพักตัวสามารถทําได้โดยการใช้ผ้าเปียกหมาด ๆห่อหุ้ม และเก็บไว้ในอุณหภูมิ 4 – 6 ゚C เป็นเวลา 2 – 3 วัน หรือนําเมล็ดไปแช่ใน Thiourea เข้มข้น 0.5 % หรือโพแทสเซียมไนเตรทเข้มข้น 0.1 – 0.2 % เมื่อเมล็ดงอกเป็นตุ่มรากสีขาว นําไปเพาะในถาดหลุม ใช้วัสดุที่มีความร่วนซุย โดยทั่วไปจะใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยคอกเก่า ผสมขี้เถ้าแกลบ อัตรา 1 : 1 : 1 ในระยะ ต้นกล้าผักกาดหอมห่อจะต้องการปริมาณธาตุอาหารปานกลาง เนื่องจากต้นกล้าไม่สามารถเจริญได้ดีในดินที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง

การเตรียมดิน

ไถดินลึก 20 – 30 เซนติเมตร และโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ อัตรา 50 – 100 กรัม/ตารางเมตร ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 2 – 4 ตัน/ไร่ ผสมคลุกเคล้าให้ทั่วแปลง ใส่ปุ๋ย สูตร 12 – 24 – 12 และ 15 – 0 – 0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ สัดส่วน 1 : 1 รองพื้น

การย้ายปลูก

ย้ายปลูกเมื่อมีใบจริง 3 – 4 ใบ ควรระวังอย่าให้ดินที่หุ้มรากแตก นําลงปลูกในแปลงลึก 10 – 15 เซนติเมตร โดยใช้ระยะปลูก 20 – 50 x 30 – 50 เซนติเมตร

การให้ปุ๋ย

ใส่ปุ๋ยสูตร 12 – 24 – 12 ใส่ก่อนปลูกอัตรา 40 กิโลกรัม/ไร่ และหลังปลูก 30 วัน ใส่อัตรา 12 กิโลกรัม/ไร่ และใส่แคลเซียม แอมโมเนียไนเตรท ( 15 – 0 – 0 ) หลังปลูกในระยะที่เริ่มเจริญและใส่ปุ๋ยสูตร 13 – 0 – 46 ในระยะที่ เริ่มเข้าปลี ผักกาดหอมห่อมีความต้องการธาตุอาหารสูงในระยะแรกของการ เจริญเติบโต เพื่อเป็นอาหารในการสร้างต้น ใบ และหัว

โดยทั่วไป ธาตุอาหารรองจะมีผลต่อการเจริญของผักกาดหอมห่อน้อยมาก แต่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง มีความชื้นสูงหรือต่ำเกินไปจะทําให้เกิดการขาดแคลเซียมและทําให้เกิดอาการปลายใบไหม้ ( tip bum ) ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำผักกาดหอมห่ออาจจะแสดงอาการ ขาดธาตุโบรอน ทองแดง และ/หรือ โมลิบดีนัม โดยเฉพาะการปลูกในโรงเรือนจะขาดธาตุอาหาร รองได้ง่าย ควรฉีดพ่นด้วยปุ๋ยที่มีธาตุรองทุกอาทิตย์ 

การให้น้ํา

เนื่องจากผักกาดหอมห่อมีระบบรากตื้น ดังนั้นจะต้องให้ความชื้น สม่ำเสมอ โดยเฉพาะในฤดูร้อนดินจะแห้งเร็ว ทําให้พืชแสดงอาการขาดน้ําได้ง่ายหรือในฤดูฝนในพื้นที่ ๆ มีน้ําขังจะทําให้รากชะงักการเจริญและเน่าตายได้

การให้น้ําแบบพ่นฝอย ควรให้ในระยะแรกของการเจริญเติบโต หรือในฤดูร้อนและหยุดเมื่อเริ่มเข้าปลีเพราะจะทําให้เกิดโรคทางใบ ควรเปลี่ยนมาใช้ระบบน้ําหยดแทน ทั้งนี้ อาจจะมีการให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ําแบบน้ําหยด จะทําให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูงขึ้น

การเก็บเกี่ยว

เมื่ออายุประมาณ 40 – 50 วัน หลังปลูกใช้มือกดดู หัวแน่นก็สามารถเก็บผลผลิตได้ ควรหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนหัวผักสลัดเปียกควรเก็บตอนบ่าย อย่าล้างผัก ทําการคัดเกรดใช้มีดตัดบริเวณโคนต้น ตัดแต่งใบรอบนอก ให้เหลือ 3 – 4 ใบ แล้วป้ายปูนแดงที่รอยตัดเพื่อป้องกันเชื้อโรค เสร็จแล้วบรรจุในภาชนะ แต่ต้องผึ่งลมให้แห้งเสียก่อน

คุณค่าทางโภชนาการ

ผักกาดหอมห่อเป็นพืชที่มีวิตามินซีสูง โดยเฉพาะผักกาดหอมห่อที่มีใบสีแดง นอกจากนี้ยังมีฮีโมโกลบิน ( hemoglobin ) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูกเหมาะสําหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

การใช้ประโยชน์

ผักสลัดหอมห่อใช้ประกอบอาหารประเภท ยํา ลาบ ทําแกงจืด เป็นเครื่องจิ้ม หรือตากแห้ง แล้วหมักเกลือเก็บเอาไว้ รับประทาน


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น