การปลูกกะหล่ำปลีแดง

 กะหล่ำปลีแดง ( Red Cabbage )



ภาพโดย İbrahim Güvener จาก Pixabay 


ชื่อวิทยาศาสตร์  Brassica oleracea var. rubra

กะหลํ่าปลีแดง จัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae ( Cruciferae ) เป็นพืชล้มลุกสองปี มีลักษณะคล้ายกะหล่ำปลีธรรมดาแต่มีสีแดง เนื่องจากใบมีสาร anthocyanin จํานวนมาก ลักษณะลําต้นสั้นมาก ใบเรียงตัวสลับซับซ้อนกันแน่น หลายชั้น หัวกลมหรือค่อนข้างกลม

กะหล่ำปลีแดง สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินที่มี ลักษณะโปร่งและร่วนซุย มีความชื้นในดิน และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง อยู่ในช่วง 6 – 6.5 สําหรับอุณหภูมิท่ีเหมาะสมสําหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20゚C

การเตรียมดิน

กะหล่ำปลีแดง สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วน ปนทราย ไถดินให้ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ตากแดดทิ้งไว้ ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 3 – 4 ตัน/ไร่ และปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 50 ตารางเมตร/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วพรวนดินให้ละเอียด ยกทําแปลง กว้าง 1 เมตร ปลูก 2 แถว ความยาวแล้วแต่สะดวก

การปลูก

การปลูกกะหล่ำปลีแดงที่นิยมทําได้ 2 แบบ คือ

1. การหยอดเมล็ดในแปลงปลูก เหมาะสําหรับพื้นที่ที่เตรียมดินดีแล้ว จึงเหมาะต่อการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตระยะแรกควรให้น้ํา สม่ำเสมอ วิธีนี้ประหยัดแรงงานและเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น แต่มีข้อเสียต้องใช้เมล็ด มากและจะต้องถอนให้เหลือ 1 ต้น เมื่อเริ่มมีใบจริง

2. การย้ายกล้าปลูก วิธีนี้จะต้องมีการเตรียมแปลงเพาะกล้าอย่างดี จะต้องยกแปลงสูง เพื่อสะดวกในการระบายน้ํา ควรใช้ทรายกลบบนแปลงให้หนา ประมาณ 1 – 2 นิ้ว แล้วจึงหว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูก ความกว้างของแปลง 1 เมตร ความยาวข้ึนกับพื้นที่ เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2 – 3 ใบจึงย้ายปลูก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 40 เซนติเมตร ระหว่างต้น 40 เซนติเมตร การปลูกจะปลูก เป็นแบบแถวเดียวหรือแถวคู่ก็ได้

การใส่ปุ๋ย

เนื่องจากกะหล่ำปลีแดงต้องการปุ๋ยไนโตรเจน และโปตัสเซียมใน ปริมาณสูง ควรใช้ปุ๋ยสูตร 13 – 13 – 21 หรือ 14 – 14 – 21 ในอัตรา

100 – 150 กิโลกรัม/ไร่ ควบคู่ไปกับการให้ปุ๋ยไนโตรเจน ( 15 – 0 – 0 ) ใน อัตรา 20 – 25 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งการให้ปุ๋ยเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่เพียงครึ่งหนึ่ง โดยใส่รองพื้นขณะปลูก ครั้งที่สองใส่ปุ๋ยที่เหลืทั้งหมด เมื่อพืชอายุประมาณ 14 วัน หลังจากย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยใส่แบ่งโรยข้างต้นอายุ 20 วัน และ 40 วัน

การให้น้ํา

สําหรับการให้น้ํา ควรให้อย่างพอเพียง เนื่องจากกะหล่ำปลีแดงเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินมาก ระยะที่กะหล่ำปลีแดงต้องการน้ํามากที่สุด ได้แก่ ระยะเริ่มห่อปลีและระยะการเจริญเติบโตเต็มที่ ( ประมาณ 4 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว )

การเก็บเกี่ยว

อายุของกะหล่ำปลีแดงแต่ละพันธุ์ไม่เหมือนกัน สําหรับพันธุ์ท่ีนิยม ปลูกบ้านเรา เก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 50 – 60 วัน ถ้าเป็นพันธุ์หนักอายุ ประมาณ 120 วัน โดยสังเกตได้จากหัวดอกกะหล่ำปลีแดงจะแน่น มีสีแดงชัดเจน การตัดกะหล่ำควรจะส่งถึงตลาดให้เร็วที่สุด



ภาพโดย congerdesign จาก Pixabay 


คุณค่าทางโภชนาการ

กะหล่ำปลีแดงเป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูง และอุดมไปด้วยคุณค่า สารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน ( สาร indoles ซึ่งเป็นผลึกที่แยกมาจาก trytophan กรดอะมิโนที่จําเป็นต่อร่างกาย ) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซี ซึ่งพบค่อนข้างมากกว่ากะหล่ำปลีสีเขียวถึงสองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรค เลือดออกตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์ ( sulfer ) ช่วยกระตุ้นการทํางานของลําไส้ใหญ่ และต้านสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีแดงบ่อยๆจะช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับ คลอเรสเตอรอล และช่วยระงับประสาท ทําให้นอนหลับได้ดี นํ้ากะหล่ำปลีแดง คั้นสด ๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ อย่างไรก็ตาม กะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทํางานของต่อมไทรอยด์ ทําให้นําไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควรกินกะหลํ่าปลีแดงสดๆ วันละ 1 – 2 กิโลกรัม แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป

การใช้ประโยชน์

นํามาใช้ตกแต่งอาหารหรือแกะสลัก แต่งร่วมกับสลัดผัก รับประทานดิบกับเครื่องจิ้ม ดอง ตุ๋นกับเนื้อสัตว์แบบอาหารจีน


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น