ศัตรูพืชและกรรมวิธีในการควบคุมระบบผสมผสาน


ศัตรูพืช

สารเคมีและกรรมวิธี ที่เกษตรกรใช้อยู่

สารธรรมชาติ และกรรมวิธีแทน ระบบผสมผสาน

หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนแทะเปลือก

คาร์บารลิ เมทธิล พาราไธออน ,เมทธามิโดฟอส โมโนโครโตฟอส คลอไพริฟอส ฯลฯ 

พ่นในระยะที่แมลงระบาด ป้องกันทุก 7 – 10 วัน

สารสกัดจากสะเดา ข่า ตะไคร้หอม(นีมบอนด์-เอ)(R) พ่นช่วงก่อนระบาด และสํารวจแมลง ถ้าจําเป็นอาจใช้สารไพรที อยด์สังเคราะห์ร่วมด้วยได้ เฉพาะในกรณีที่ไม่ได้ป้องกันมาก่อน และต้องการพ่นเพื่อกําจัดให้แมลงหมดไปในครั้งนั้น ๆ

เพลี้ยไก่แจ้,  เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่นฝอยทําลายใบอ่อน

คาร์บารลิ ,ไดโครโตฟอส เมทธามิโดฟอส สารไพรีทอยด์ สารสัง เคราะห์ 

พ่นช่วงแตกใบอ่อน ระยะหางปลาใบคลี่

สารสกัดจากสะเดา ข่า ตะไคร้หอม(นีมบอนด์-เอ)(R) พ่นช่วงแตกใบอ่อน เมื่อเริ่มต้นในครั้งแรก ๆ อาจใช้สารไพรีทอยด์สังเคราะห์ ร่วมด้วย โดยลดอัตราของสารไพรีทอยด์สังเคราะห์ลงมาครึ่งหนึ่งและถ้าเป็นเพลี้ยไก่แจ้อย่างเดียวไม่ต้องใช้สารไพรีทอยด์ สังเคราะห์


ศัตรูพืช

สารเคมีและกรรมวิธีที่เกษตรกรใช้อยู่

สารธรรมชาติ และกรรมวิธีแทน ระบบผสมผสาน

ไรแดงทําลายใบแก่

โปรพาร์ไกท์ โฟซาโลน ไดโคโพล

สารสกัดจากสะเดา ข่า ตะไคร้หอม(นีมบอนด์-เอ)(R) พ่นเพื่อให้ผล ใบ ต้าน ป้องกันและกําจัด โดยพ่นเมื่อพบการระบาด ซึ่งอาจใช้ 1–3 ครั้ง /ฤดูกาลผลิต

มอดเจาะกิ่งลําต้น

คลอไพริฟอส ฉีดพ่นทางลําต้นช่วงการระบาดและ หลังแต่งกิ่ง(ต้องควบคุมโรครากเน่า โคนเน่าด้วย )

สารสกัดจากสะเดา ข่า ตะไคร้หอม(นีมบอนด์-เอ)(R) ที่ลําต้น กิ่ง หลังแตกกิ่ง ร่วมกับเขตกรรมป้องกันโรคโคนเน่าและเก็บส่วนของกิ่งที่ตัดแต่งแล้วไปทําลาย เพื่อทําลายตัวอ่อน– ตัวแก่ของตัวมอด

เพลี้ย แป้ง เพลี้ย หอย เพลี้ย สําลี

โมโนโครโตฟอส เมทธามิโดฟอส ,คลอไพริฟอสซูปราไซด์ ร่วมกับ ไวท์ออยล์ หรือ ปิโตรเลี่ย มออยล์ พ่นที่ผลตั้งแต่เริ่ม่ระบาด

• ใช้คาร์บาริลโรยที่ขั้วผล

• สารสะเดาอัดเม็ด หว่านบริเวณรอบโคนต้น เพื่อไล่มดไม่ให้พาเพลี้ยขึ้นต้นทุเรียน

• สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอม(นีมบอนด์-เอ)(R)พ่นที่ผลช่วงการระบาด อาจใช้ร่วมกับไพรีทอยด์ สังเคราะห์เมื่อพบว่ามีการระบาดรุนแรงและต้องการ กําจัดไปให้หมดในช่วงนั้น ๆ



ศัตรูพืช

สารเคมีและกรรมวิธี ที่เกษตรกรใช้อยู่

สารธรรมชาติ และกรรมวิธีแทน ระบบผสมผสาน

โรครากเน่า โคนเน่า จากเชื้อ ( Phytoptera )

ใชฟอสฟอรัสแอซิท ฉีดอัดเข้าลำ ต้น

• ทาแผลด้วยฟอสฟอรัสแอซิคชนิดครีมสําหรับทาแผล เมตาแลกซลิ ฯลฯ

• พ่นทางใบด้วย ฟอสเอทธิล อะลูมินั่ม
• ราดดินในบริเวณทรงพุ่ม ด้วยเมตาแลกซิลเทอร์ราโซล ฯลฯ

• จัดการระบายนํ้า อย่าให้ท่วมขัง
• ฉีดเข้าต้นฟอสฟอรัสแอซิค

• ใช้ปุ๋ยชีวภาพและไตรโคเดอร์มากับปุ๋ยหมัก 

• ทาแผลด้วยฟอสฟอรัสแอซิคชนิดครีมหรือ เชื้อจุลินทรีย์

( Beschoice – 4 ) ( R )

โรคใบติด โรคใบลาย(Anthracnose) ราสีชมพู สาหร่ายสนิม

สารกลุ่ม คอปเปอร์ แมนโคเซป คาร์เบลดาซิม ฯลฯ พ่นทางใบช่วงระบาดร่วมกับการตัดแต่ง

• เชื้อจุลินทรีย์
( Bestchoice – 4 ) ( R ) พ่นทางใบในระยะระบาด 

• ใช้บาซิลลัส ซับติลิสและไตรโคเดอร์มาเพื่อลดเชื้อศัตรูพืช

• ถ้าจําเป็น อาจใช้สารเคมี ร่วมด้วยเช่น คาร์เบนดาซิม

• สารสกดัจากสะเดาทุกชนิดให้ผลในการลดความรุนแรงของโรคจะ ค่อนข้างต่ำ

• ใช้การตัดแต่งกิ่ง ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคด้วย



ศัตรูพืช

สารเคมีและกรรมวิธี ที่เกษตรกรใช้อยู่

สารธรรมชาติ และกรรมวิธีแทน ระบบผสมผสาน

โรคผลเน่า โรคใบลาย ( Anthracnose )

ใช้สารกลุ่มเดียวกับโรครากเน่า โคนเน่า พ่นที่ผลเป็นระยะ ๆ เช่น
ทุก ๆ 
7 – 10 วัน

• พ่นด้วยสารสกัดจาก สะเดา ข่า ตะไคร้หอมเป็นประจํา ถ้าจําเป็น จะใช้สารเคมีสลับกันบ้าง

วัชพืช

พาราควอท ไกลโคโฟเสท ซัลโฟเสท พ่นปีละ 2 – 3 ครั้ง

• ตัดหญ้าในระยะที่ เหมาะสม

• ใช้สารกําจัดวัชพืช ปีละไม่เกิน ครั้ง
• มีการเว้น วัชพืชไว้บ้าง

เพื่อเป็นที่อาศัยของ ตัวห้ำตัวเบียน



คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4

การปลูกซูกินี

ซูกินี ( Zucchini )



ภาพโดย マサコ アーント จาก Pixabay 


ชื่อวิทยาศาสตร์   Cucurbita pepo L.Var. 

                            Cylindica Pans

ซูกินี เป็นกลุ่มพืชตระกูลแตง มีถิ่นกําเนิดอยู่แถบเม็กซิโก เป็นพืชฤดูเดียว เจริญเป็นพุ่มหรือกึ่งเลื้อย ลําต้นมีข้อสั้น มีมือเกาะ ใบมีลักษณะเป็นเหลี่ยม 4 – 5 เหลี่ยม ผิวหยาบและมีขนอ่อนบนใบ บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนใบ ผลมีลักษณะกลมยาว เก็บเกี่ยวและรับประทาน ผลอ่อน

ซูกินีต้องการสภาพอากาศอบอุ่นในการเจริญเติบโต อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 18 – 30 °C ปลูกได้ตลอดทั้งปี ในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป ต้องการดินร่วนซุย หน้าดินลึกระบายน้ําดีและมีความ อุดมสมบูรณ์สูง ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0 – 6.5 พื้นที่ปลูกควรได้รับ แสงแดดอย่างเต็มที่

การเตรียมกล้า

เพาะกล้าในถาดหลุม อายุกล้า  6 – 8 วัน

การเตรียมดิน

ไถดินลึก 15 – 20 เซนติเมตร ตากดิน 7 – 10 วัน เก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 – 2 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่

การปลูก

ปลูกแถวเดี่ยว ระยะปลูกระหว่างต้น 70 – 100 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 1 เมตร

หลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ และแคลเซียมไนเตรท อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ดูแลให้น้ําอย่างสม่ำเสมอ


ภาพโดย Antonio Jose Cespedes จาก Pixabay


การเก็บเกี่ยว

เมื่ออายุประมาณ 40 – 45 วัน หลังปลูก ผลผลิตรุ่นแรกจะไม่ค่อยดี ควรตัดทิ้ง จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 5 – 7 วัน หลังตัดดอกหรือเมื่อกลีบดอกหลุดจากผล เก็บเกี่ยวผลอ่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 12 – 20 เซนติเมตร ผิวเป็นมัน ห่อด้วยกระดาษแล้วบรรจุลง ตะกร้าพลาสติกหรือกล่อง

การใช้ประโยชน์

รับประทานเป็นผักสด ใช้แทนบวบหรือแตงกวาในการประกอบอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ทําเป็นสลัด หรือยํา ใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรืออาหารทะเล ชุบแป้งทอด นํามาดอง ยัดไส้แกงจืด


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4



การปลูกพาร์สเลย์

พาร์สเลย์ ( Parsley )



ภาพโดย tegrafik จาก Pixabay 


ชื่อวิทยาศาสตร์  Petroselinum cripum

พาร์สเลย์ เป็นพืชอายุยาว ทรงต้นลักษณะเป็นกอ ใบจะเป็นหยัก ๆ มีก้านใบยาวประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร 

ในส่วนของก้านใบจะมีข้อ 2 – 3 ข้อ และมีก้านใบย่อยเกิดขึ้นตรงข้อและตรงก้าน ใบย่อยนี้จะมีใบย่อยแตกแขนง ออกไปอีกซึ่งถ้ามองดูเผิน ๆ จะเหมือนต้นผักชีไทย ให้ผลผลิตตลอดปีถ้ามีการจัดการดี 

พาร์สเลย์เป็นพืชที่ต้องการน้ําตลอดฤดูปลูก แต่ไม่ควรมีน้ําขังหรือมีความชื้นสูง ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ แสงแดดในช่วงเช้า ชอบสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 18 – 25 °C ความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะสม คือ 5.5 – 6.8 

สามารถเริ่มเพาะในที่ร่มหรือกลางแจ้ง แต่มีข้อแนะนําว่าให้เพาะเมล็ด ในที่ร่มก่อนที่จะย้ายไปปลูกกลางแจ้ง โดยการเพาะเมล็ดควรให้ดินเพาะกล้ามี ความชื้นตลอดเวลา เพื่อช่วยให้เมล็ดงอก ถ้าปลูกพาร์สเลย์ใกล้กุหลาบ หน่อไม่ฝรั่ง และมะเขือเทศจะช่วยป้องกันแมลงเข้าทําลายได้

การเตรียมดิน

แบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ

1. การเตรียมแปลงเพาะปลูก

2. การเตรียมดินถุงเพื่อย้ายกล้าชํา 

3. การเตรียมแปลงปลูก

การเตรียมแปลงเพาะกล้า

ให้ทําการขุดพลิกดินแล้วตากแดดไว้ 7 – 15 วัน จากนั้นหว่านปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) ในอัตราปุ๋ยคอก 300 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน เกลี่ยหน้าดินให้เรียบ จากนั้นจึงหว่านเมล็ดลงบนแปลง แล้วใช้ดินละเอียดกลบบาง ๆ หรือการเพาะกล้าสามารถทําได้ในกระบะเพาะ

การเตรียมดินลงถุงเพื่อย้ายกล้าชํา

ใช้ดินร่วนผสมกับมูลไก่อัตรา 2 ต่อ 1 คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนํามา กรอกลงถุงพลาสติกขนาด 4 x 6

การเตรียมแปลงปลูก

หว่านปูนขาว แล้วขุดดินตากแดดทิ้งไว้ 7 – 15 วัน ใช้ปุ๋ยคอก อัตรา 300 กรัม/ตารางเมตร คลุกเคล้าให้ทั่วแปลง

วิธีการปลูก

การให้น้ํามีความสําคัญอย่างยิ่ง ควรให้น้ําในแปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ปลูกแปลงในสัปดาห์แรก เพื่อช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น

การใสปุ๋ย

ปุ๋ยที่แนะนําให้ใช้กับพาร์สเลย์ คือปุ๋ยสูตร 46–0–0 ผสม15–15–15 ในอัตราส่วน 1:2 ปริมาณ 50 – 100 กิโลกรัมต่อไร่ 

หลังจากย้ายปลูกประมาณ 7 – 14 วัน โรยปุ๋ยเป็นร่องลึก 2 – 3 เซนติเมตร กลบดินแล้วรดนํ้าอีกประมาณ 2 สัปดาห์ให้ปุ๋ยสูตร 15–15–15 สลับกับปุ๋ยสูตร 13–13–21 ทุก ๆ 2 สัปดาห์



ภาพโดย ArtActiveArt จาก Pixabay 


การเก็บเกี่ยว

เริ่มเก็บเกี่ยวครั้งแรกหลังจากปลูกแล้ว 60 – 80 วัน การเก็บจะปลิดก้านใบ โดยปลิดก้านที่อยู่ด้านนอกก่อน ในการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งจะเหลือก้านใบไว้  2 – 3 ใบต่อหนึ่งต้น 

หลังจากเก็บครั้งแรกแล้วประมาณ 15 – 20 วัน ต้นพาร์สเลย์จะแตกใบขึ้นมาใหม่ ให้ทำการเก็บครั้ง ที่ 2,3,4 ไปเรื่อย ๆ โดยจะเก็บทุก 15–20 วันใน 1 รุ่น จะเก็บเกี่ยวได้ 1–2 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา

การใช้ประโยชน์

การตกแต่งจานอาหารและจานสลัด ใช้กับอาหารประเภทยํา ชุบแป้งทอดหรือรับประทานสด ๆ นอกจากนี้ยังใช้ใบพาร์สเลย์สดมาเคี้ยว ทําให้ลมหายใจสดชื่นและ ช่วยดับกลิ่นตกค้าง เช่น กระเทียม นอกจากนี้ใบพาร์สเลย์ยังมีวิตามิน และธาตุเหล็กในปริมาณพอสมควร


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4