ชาโยเต้ ( Chayote )
ภาพโดย Edeni Mendes da Rocha Teka จาก Pixabay
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sechium edule (Jacq.)
ชาโยเต้ หรือฟักแม้ว จัดอยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae หรือ Gourd Family มีถิ่นกําเนิดทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกและแถบอเมริกากลาง ลําต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามค้าง ผลมีลักษณะยาวรี สีเขียวอ่อน ผิวขรุขระ เป็น พืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถบริโภคได้ทั้งยอดและผล การปลูกและดูแลรักษาง่าย โรคและแมลงน้อย
สามารถปลูกทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ําทะเลตั้งแต่ 500 – 1,700 เมตร สภาพอากาศเย็นอุณหภูมิท่ีเหมาะสมอยู่ระหว่าง 13 – 21゚C หากอุณหภูมิต่ำกว่า 5゚C จะเป็นอันตรายต่อยอดอ่อน การปลกูในสภาพอุณหภูมิสูงกว่า 28゚C จะเร่งอัตราการเจริญทางลําต้นและใบให้สูงขึ้น แต่ดอกและผลจะร่วง
สําหรับสภาพดินที่ทําการปลูกเป็นดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ หน้าดินลึกและมีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6 – 6.8 ได้รับแสงแดดและน้ําอย่างพอเพียง
การเตรียมดิน
ขุดพลิกดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน รองก้นหลุมด้วยมูลไก่ 1 กิโลกรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 30 กรัมต่อหลุม ควรรองก้นหลุมด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มา ป้องกันโรคเน่าที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
การปลูก
การปลูก มี 2 แบบคือ
1. การปลูกเพื่อเก็บผล
ใช้ระยะห่างระหว่างแถว/หลุม ประมาณ 2 x 2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้จํานวน 400 ต้น หรือหลุม ทําค้างสูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร โดยใช้เสาไม้ไผ่หรือเสาปูนทําเสาหลักแล้ว ใช้ไม้ไผ่รวก ทําค้างวางระหว่างเสาปูนเป็นราวไม่และใช้เชือกหรือลวดขึงเป็นตารางให้ตึง หรืออาจทําลักษณะค้างคล้ายกับค้างองุ่น
ใช้ระยะห่างระหว่างแถว/หลมุ 0.5 – 0.75 เมตร x 1 – 1.5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ปลูก ใช้ค้างไม้รวกหรือไม้เนื้อแข็งสูงประมาณ 2 – 2.50 เมตรไขว้กัน ใช้ไม้วางตรงกลางผูกเชือกให้แน่น
สําหรับในแปลงปลูกเพื่อเก็บผลอ่อนควรมีการตัดแต่ง ใบแก่ และ เถาแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกบ้าง เพื่อให้ชาโยเต้ออกผลได้ดี
2. การปลูกเพื่อเก็บยอด
การปลูกเพื่อเก็บยอด เกษตรกรที่ปลูกโดยทั่วไปจะไม่ทําค้างเพราะ ไม่สะดวก เกษตรกรจะใช้ระยะการปลูกแบบถี่ ระยะหลุม อยู่ระหว่าง 50 X 75 เซนติเมตร เพื่อให้ได้ปริมาณต้นมาก การเก็บยอดอ่อนโดยอาจต้องใช้หัวพันธุ์ 2 หัวต่อหลุม พื้นที่ 1 ไร่ ใช้หัวพันธุ์ประมาณ 3,200 – 6,400 หัว
การเก็บยอดขาย จะเก็บยอดอ่อนยาวประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร หรือประมาณ 1 ศอก นำมาตัดแต่ง เอาใบแก่ออกมัดเป็นกำ
วิธีการปลูก
1. นําผลที่แก่เต็มที่ปลอดเชื้อไวรัส ไปชําในกระบะทรายไว้ในที่ร่ม ที่มีความชื้นพอสมควร รอให้แตกรากจึงย้ายปลูก
2. การปลูกลงแปลง นําหัวพันธุ์ที่แก่เต็มที่และงอกต้นอ่อนแล้ววาง กลางหลมุที่เตรียมไว้กลบดิน 3ใน 4 ของผลเหมือนการปลกูมะพร้าว เสร็จแล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ฟางข้าว เศษพืชเล็กน้อยแล้วรดนํ้าให้ชุ่ม
การให้น้ํา
รดวันละ 1 – 2 ครั้ง
การให้ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยสูตร 12 – 24 – 12 หรือ 15 – 15 – 15 สลับกับปุ๋ยคอกเป็นระยะประมาณ 2 เดือน/ครั้ง การปลูกชาโยเต้ส่วนใหญ่ไม่จําเป็นต้องใช้สารเคมี กําจัดศัตรูพืช เนื่องจากไม่มีศัตรูรบกวนมากนัก การดูแลในระยะแรกอาจจะต้อง กําจัดวัชพืช เมื่อชาโยเต้ตั้งตัวได้ไม่จําเป็นต้องกําจัดวัชพืชเพียงแต่ดูแลการใส่ ปุ๋ยและให้น้ํา
การเก็บผลผลิต
การเก็บผลอ่อน
เริ่มเก็บผลได้เมื่ออายุ4–5เดือน ผลจะออกเป็นรุ่นๆ ละ 45 วัน ขนาดผลที่เก็บเพื่อบริโภคควรมีผิวสีเขียวอ่อนหรือสีเขียว หนักประมาณ 250 – 400 กรัม/ผล
การเก็บยอด
ตัดยอดอ่อนได้หลังการปลูกประมาณ 2 เดือน จะเก็บยอดอ่อนยาวประมาณ 40 – 50 เซนติเมตรทุก 2 – 3 วัน ผลผลติ เฉลีย 200 – 300 กิโลกรัม /ไร่ โดยเฉลี่ย สัปดาห์ละ 400 กิโลกรัม /ไร่
ข้อควรระวังในการปลูกชาโยเต้
ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่ ไม่สามารถระบายน้ําได้ดี เนื่องจากชาโยเต้ อ่อนแอต่อการถูกน้ําท่วมขัง
คุณค่าทางโภชนาการ
ชาโยเต้ประกอบไปด้วยคุณค่าอาหารหลายชนิด ได้แก่วิตามนซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส บํารุงกระดูกและฟัน ป้องกันหวัด ผลและเมล็ด ประกอบด้วย กรดอะมิโนที่สำคัญ เช่น aspartic acid glutamic acid alanine orgin cistien phenylalanine glycine histidine isoleuucine leucine metionine proline serine tyrosine threoninee and valine น้ําต้มใบและผลช่วยขับปัสสาวะและสลายนิ่วในไต
การใช้ประโยชน์
ส่วนที่ใช้บริโภคคือส่วนของยอดอ่อนและผลอ่อน มีการบริโภคอย่าง แพร่หลาย และมีรสชาติอร่อย จัดเป็นผักปลอดสารพิษ ยอดชาโยเต้ก็ เช่นเดียวกับผักทั่วไป นํามาต้มจิ้มน้ําพริก ต้มจืด แกงเลียง ลาบ ผัดหมู ผัดน้ํามันหอย ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ส่วนผลของชาโยเต้ก็นำไปปรงุ เป็นผัก ต้มจืด แกงส้ม ลวก หรือต้ม จิ้มกับน้ําพริก
คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น