การปลูกแครอท

แครอท (Carrot)

ภาพโดย katerinavulcova จาก Pixabay

ชื่อวิทยาศาสตร์  Daucus Carota Var.sativa

แครอท อยู่ในวงศ์ Apiaceae ( Umbelliferae ) มีถิ่นกําเนิด อยู่แถบเอเชียกลางจนถึงเอเชียตะวันออก แครอทเป็นพืชสองฤดู โดยฤดูแรก เจริญทางต้น ใบ และราก ฤดูที่สองจะเจริญทางดอก และเมล็ด

แครอทเป็นพืชกินหัวที่เจริญได้ดีในเขตหนาว อุณหภูมิที่เหมาะ

สําหรับการเจริญเติบโตของหัวอยู่ระหว่าง 18 – 21 ゚C หากมีความแตกต่าง

ของอุณหภูมิระหว่างผิวดินและระดับดินที่ลึกลงไป 10 – 15 เซนติเมตร ถ้ามากจะ ทําให้รูปทรงของหัวไม่สม่ำเสมอ แครอทเป็นพืชที่ต้องการแสงมาก โดยเฉลี่ย ประมาณ 9 – 14 ชั่วโมง/วัน

แครอทเจริญได้ดีในดินละเอียด มีอินทรีย์วัตถุสูงและรวนซุย หน้าดิน ลึกเพื่อให้หัวแครอทลงหัวได้ดี ดินระบายน้ําได้ดี ความเป็นกรด เป็นด่างของดิน 6.5 – 7.5

การปลูก

แครอทจะปลูกโดยวิธีหยอดเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง แต่ต้นอ่อน ไม่สามารถเจริญขึ้นได้ ในกรณีที่มีหนาดินแห้ง

ในสภาพแปลงปลูกที่มีอุณหภูมิสูง ควรให้น้ํา เพื่อรักษาหน้าดินให้มีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ จะช่วยลดอุณหภูมิของดินและต้นอ่อนจะสามารถ เจริญเติบโตได้ดี

การหยอดเมล็ด ควรหยอดตามแนวขวางของแปลง ระยะห่าง ระหว่างต้น 2 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 10 – 15 เซนติเมตร หยอดลึก 2 – 3 เซนติเมตร

การถอนเพื่อจัดระยะ ควรเริ่มถอนเมื่อมีใบจริง 2 ใบ ถอนให้มี

 ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร และเมื่อมีใบจริง 3 - 6 ใบ ถอนให้ห่าง 10 เซนติเมตร 

การพูนโคน เพื่อป้องกันอาการไหล่เขียวและตายนึ่ง เนื่องจากแสงแดด ซึ่งถือว่ามีคุณภาพต่ำ ควรกลบ

โคนต้น 3 ครั้งเมื่อมีใบจริง 5 ใบ 7 ใบ และ 10 ใบ พูนโคนให้สูง 5 เซนติเมตร ขนาด ของหัวจะขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างต้นและ ระหว่างแถว

การให้น้ํา

ให้น้ําทุกวันอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าให้น้ําขังแปลง เพราะจะทําให้หัวเน่า และควรรักษาความชื้นให้เพียงพอ ในระยะแรกของการปลูก เพื่อที่จะกระตุ้นการงอกในระยะแรก ช่วงเก็บเกี่ยวควรให้น้ําน้อยลงเพื่อลดการเกิดแง่ง และการแตกของหัว 

การให้ปุ๋ย

ชนิดและอัตราปุ๋ยที่ใช้จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน

โดยทั่วไปเนื่องจากเป็นพืชที่นํารากมาใช้ประโยชน์

สภาพดินที่ร่วนซุย มีหน้าดินลึกต้องการปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจํานวนมาก เพื่อ เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ําของดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และเพิ่มช่องว่าง ในดิน ซึ่งจําเป็นสําหรับการเจริญของราก แต่ควรใช้ปุ๋ยคอกท่ีย่อยสลายแล้ว เนื่องจากมีไนโตรเจนต่ำ ปุ๋ยคอกใหม่จะมีไนโตรเจนสูงกระตุ้นให้รากเจริญ ผิดปกติและไม่สามารถขายได้

การใส่ปุ๋ยแบบหว่านทั่วแปลง และคลุกเข้ากับดินก่อนหยอดเมล็ด จะให้ผลดีกว่าการใส่รองก้นหลุมหรือใส่ด้านข้าง การให้ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะที่มี ความชื้นสูงจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้และปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนีย จะให้ผล ดีที่สุด

การใช้ปุ๋ยสูตร 13 – 13 – 21 อัตรา 80 – 100 กิโลกรัม/ไร่ หว่าน ก่อนหยอดเมล็ดใช้สูตร 15 – 0 – 0 ใส่หลังปลูก 10 – 20 กิโลกรัม/ ไร่ การใส่ ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะทําให้พืชสร้างใบมาก จะทําให้รากแขนงและรากฝอย เจริญมากเกินไป

การเก็บเกี่ยว

ระยะเก็บเกี่ยวของแครอทจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ ประมาณ 80 – 100 วันหลังหยอดเมล็ดหรือดูขนาดของหัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร ต้องไม่ใหญ่เกินไป ตัดแต่งใบให้ เหลือความยาว 5 – 7 เซนติเมตร ทําความสะอาดหัว ผึ่งให้แห้งในที่ร่มก่อนบรรจุ ภาชนะ เข่งหรือลังควรรองด้วยกระดาษก่อนเพื่อป้องกันความเสียหายขณะที่ ขนส่ง


ภาพโดย jacqueline macou จาก Pixabay 


คุณค่าทางโภชนาการ

แครอทเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสาร Beta Carotene โดยเฉพาะบริเวณ ส่วนของเปลือกแก่ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอสูง ( 11,000 IU ) นอกจากน้ี ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 และ วิตามินเอ ช่วยทําให้ร่างกายมีภูมิต่อต้านโรคหวัด ป้องกันโรคมะเร็ง ป้องกันอาการผิดปกติในกระดูก โรคผิวหนัง และรักษาสายตา

การใช้ประโยช์

แครอทสามารถนํามาประกอบอาหารมา หั่นบางๆ ทําสลัด ผัดผัก ต้มจืด ทําส้มตํา ตกแต่งอาหารในจานหรือทําเป็นขนม



คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น