การปลูกพริกหวาน

พริกหวาน ( Sweet peper )



ภาพโดย Thomas Breher จาก Pixabay


ชื่อวิทยาศาสตร์  Capsicum annum

การปลูกพริกหวานในโรงเรือนโดยระบบ Sub Strate Culture เป็นการปลูกที่ไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก การปลูกและการดูแลรักษาจะแตกต่างจากการปลูกในดินหรือในที่โล่งแจ้ง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง อีกทั้งยังสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆได้ ภายในโรงเรือน

พริกหวาน ต้องการสภาพอากาศอบอุ่น ความชื้นในอากาศต่ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 21 – 26゚C ถ้าอุณหภูมิกลางวันสูงกว่า 32゚C จะทําให้ ดอกร่วง การปลูกในอุณหภูมิ 10 – 15゚C จะจํากัดการเจริญเติบโตและการเจริญของตาดอก ในสภาพที่มีอุณหภูมิสูงและความชื้นในอากาศต่ำ จะทําให้อัตราการคายน้ําของพืชสูง เป็นผลให้พืชขาดน้ํา พืชจะชะงักการเจริญหรือเป็นสาเหตุให้ ใบ ดอก และผลร่วง ในสภาพอุณหภูมิ 10 – 21゚C ผลจะนิ่มและเหี่ยวเร็ว

การเลือกสายพันธุ์

สายพันธุ์พริกหวานที่ปลูกได้ดีในโรงเรือนโดยระบบ Sub Strate เป็นสายพันธุ์ทอดยอดหรือขึ้นค้าง ( Indeterminate type ) ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ ลูกผสมจากประเทศเนเธอร์แลนด์

วัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นในการปลูกพืชโดยระบบ Sub Strate

1. โรงเรือน เป็นสิ่งจําเป็นในการผลิตพืชในระบบนี้ เพื่อที่สามารถ ควบคุมสภาพแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติได้ โดยเฉพาะ ลม ฝน และการรบกวนจากโรคและแมลงศัตรูพืช

2. ระบบการให้น้ําและปุ๋ย

• ปั๊มน้ํา เป็นอุปกรณ์สําคัญในการให้น้ําโดยระบบน้ําหยด เพื่อเพิ่มแรงดันน้ําและทนการกัดกร่อนของเกลือหรือกรด 

• หัวน้ําหยด แบบเสียบ

• ถังผสมปุ๋ย

• เครื่องกรองน้ํา

• เกจวัดแรงดันน้ํา

• เครื่องมือวัด EC meter และ pH meter เป็นอุปกรณ์สำคัญในการทําระบบน้ํา

3. วัสดุอุปกรณ์ในการปลูก

• วัสดุปลูก เช่น กาบมะพร้าว , มีเดีย , ขุยมะพร้าว หรือ ใยมะพร้าว 

• เชือกฝ้ายพยุงลําต้น หรือ ลวด

• ถุงพลาสติกขนาด 12 นิ้ว และ 3 x 6 นิ้ว

4. ธาตุอาหารพืช นับเป็นหัวใจของการปลูกพืช ปัจจุบันมีการคิดค้น สูตรอาหารสําหรับปลูกพืชมากมาย แต่การเลือกใช้สูตรขึ้นอยู่กับชนิดพืช ฤดูปลูก สถานที่ปลูก

5. พันธุ์พืชที่ปลูก ควรเป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการและมีผลผลิตสูง 

6. น้ํา ควรเป็นน้ําสะอาด ปริมาณและคุณภาพต้องดี

7. กรดไนตริก ใช้ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของนํ้า สําหรับน้ำที่มีค่าเป็นด่างสูง

การเพาะกล้าพริกหวาน

เพาะเมล็ดในถาดเพาะ ใช้วัสดุเพาะสําเร็จหรือมีเดีย เมื่อต้นกล้าพริกหวานงอกได้ 1 อาทิตย์ ทําการย้ายกล้าลงปลูกในถุงขนาด 3 x 6 นิ้ว โดยใช้วัสดุปลูก คือ ขุยมะพร้าว 2 ส่วน มีเดีย 1 ส่วนผสมรวมกัน แล้วย้ายกล้าลงปลูก 2 ต้น ต่อ 1 ถุง เมื่อปลูกเสร็จรดน้ําเปล่า 2 วัน วันที่ 3 รดนํ้าผสมปุ๋ย โดยค่าความเค็มของปุ๋ย คือ EC 1.5 pH 5.5 ถึง EC 1.8 หลังจากรดปุ๋ยได้ 1 อาทิตย์ ควรงด น้ํา2 วัน เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงก่อนนําไปปลูกลงถุงใหญ่ต่อไป

การปลูก

ใช้ถุงขาวนมไม่มีรูขนาด 1 นิ้ว ใส่กาบมะพร้าวสับให้เต็ม ระหว่างใส่ กาบมะพร้าวสับอย่าให้ถุงมีรอยรั่ว เพราะจะทําให้น้ําซึมออก 

จากนั้นนํามาเรียงให้เป็นแถวในโรงเรือน ระยะห่างระหว่างแถว 1 เมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร 

นําหัวน้ําหยดเสียบลงถุงก่อนปลูก 2 วัน ปล่อยน้ําพร้อมปุ๋ย EC 1.9 มาตามสายน้ําหยด ลงในถุงที่เตรียมไว้ ให้น้ำแช่กาบมะพร้าวประมาณ 3⁄4 ของถุง ทิ้งไว้ 2 คืน 

ก่อนปลูกพริกหวานใช้ไม้เจาะข้างถุงให้ห่างจากพื้นขึ้นมา 2 นิ้ว ไม่ควรให้สูงเกิน 2 นิ้ว และไม่ต่ำกว่า 2 นิ้ว เพราะถ้าเจาะถุงสูงเกินไปต้นพริกได้รับน้ําปุ๋ยมากเกินไป ทําให้ลําต้นอวบเปราะ ไม่แข็งแรง แต่ถ้าเจาะต่ำเกินไป ต้นพริกจะขาดปุ๋ยในช่วงติดดอกออกผลและจะทําให้สูญเสียปุ๋ย 

สําหรับมะเขือเทศ ให้เจาะรูประมาณ 3 นิ้ว เนื่องจากมะเขือเทศต้องการน้ํามากกว่าพริกหวาน ถ้าขาดน้ําจะแสดงอาการเหี่ยวให้เห็นทันที

การเตรียมปุ๋ย

การเตรียมสารละลายธาตุอาหารแบบเข้มข้น ผู้เตรียมจะต้องจัดหาและเตรียมแม่ปุ๋ยเคมีพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ผสม ในการผสมจะแบ่ง ปุ๋ยที่จะผสมออกเป็น 2 ถัง คือ ถัง A และ ถัง B แต่ละถังจะประกอบด้วย

                    ถัง                                                                   ถัง B

แม่ปุ๋ยเคมีที่ผสมในถังนี้คือ 

• แคลเซียมไนเตรท

( 15.5 – 0 – 0 )
• โพแทสเซียมไนเตรท

( 13 – 0 – 46 ) 

• เหล็กดีเล็ต


แม่ปุ๋ยเคมีที่ผสมในถังนี้คือ

• โพแทสเซียมไนเตรท 

• แมกนีเซียมซัลเฟต

• โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต 

• โบรอน
• ซิงค์ซัลเฟต
• คอปเปอร์ซัลเฟต

• โตเดียมโมลิปเดต 

• แมงกานีสซัลเฟต


การให้ปุ๋ยแต่ละครั้งจะใช้แม่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ใน ถัง A และ ถัง B อัตราส่วน 1 : 1 ใส่ลงในถังผสมขนาด 1,000 ลิตร 

จากนั้น ใช้เครื่องวัด EC วัดค่าความเป็นกรด เป็นด่าง ให้ได้ค่าเท่ากับ 5.5 ถ้าค่าความเป็นกรด เป็นด่างสูงเกินไปให้ใช้กรดไนตริกปรับ

การให้ปุ๋ย ให้น้ํา แต่ละครั้งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ แต่ต้องให้ไม่ต่ำกว่าวันละ 3 ครั้ง เช่น อากาศครึ้มฝน ให้ปุ๋ยเช้าและบ่าย แต่ถ้าแดดออก อากาศค่อนข้างร้อนให้ปุ๋ยวันละ 4 – 5 ครั้ง

การใช้เชือกพยุงลําต้น

เนื่องจากพริกหวานที่ปลูกเป็นพันธุ์ที่มีลําต้นเลื้อยสูง จึงมีการใช้เชือกพยุงลําต้นให้ตั้งตรง การผูกจะใช้วิธีผูกติดกับลวดที่ขึงบนหลังคา ดึงลําต้นให้ตั้งตรงแล้วคอยพันเชือกขึ้นตามความสูงของต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม เชือกที่นิยมใช้ได้แก่เชือกฝ้ายสีขาว

การตัดแต่งกิ่งและการปลิดผล

การปลูกพริกในระบบนี้จะไว้จํานวนกิ่งต่อต้น 2 กิ่ง ในหนึ่งถุงจะมี 2 ต้น 4 กิ่ง การไว้ต้นละ 2 กิ่ง จะทําให้ได้ปริมาณผลผลิตมากข้ึน การปลิดผลจะปลิดผลที่มีรูปทรง บิดเบี้ยว มีแมลงกัดกินและมีปริมาณผลเบียดเสียดกันมากเกินไปออก การไว้จำนวนผลมาก จะทําให้ได้คุณภาพของผลผลิตต่ำ มีขนาดเล็ก และ แย่งอาหารกัน



ภาพโดย Stefan Schweihofer จาก Pixabay


การเก็บเกี่ยว

พริกหวานพันธุ์สีเขียวสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 65 – 70 วัน หลังจากย้ายกล้าปลูก ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 5 เซนติเมตร และมีสีเข้ม สังเกตผลมีผิวเรียบและแข็ง 

สําหรับพันธุ์สีแดงและสีเหลืองเก็บเกี่ยวเมื่อผลเริ่มมีสีได้มากกว่า 70 – 80 % โดยใช้กรรไกรตัดแล้วคัดเกรดห่อด้วยกระดาษบรรจุลงตะกร้าพลาสติก ไม่ควรบรรจุแน่นเกินไป ทําให่ผลช้ำเสียหายขณะขนส่งได้

คุณค่าทางโภชนาการ

พริกหวานมีคุณค่าทางวิตามินเอ บี 1 บี 2 และซี มีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก

การใช้ประโยชน์

พริกหวานมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม เนื้อหนา มีหลายสีทั้ง เขียว แดง เหลือง สมและสีช็อกโกเลต มีรสชาติหวาน ไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัด ชุบแป้งทอด สอดไส้กับเนื้อสัตว์บดแล้วอบ หรือนํามาผัดกับชนิดต่างๆ ให้สีสันน่ารับประทาน


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น