การปลูกพริกกะเหรี่ยง

พริกกะเหรี่ยง ( Phrik Kariang )



ภาพโดย Hans Linde จาก Pixabay


ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Capsicum spp.

พริกกะเหรี่ยง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Solanaceae เป็นพริกที่ชาวไทยภูเขานิยมปลูกกันมาก สามารถปลูกได้ทั่วไปบนพื้นที่สูง การผลิตไม่จําเป็นต้องใช้สารเคมีเนื่องจากศัตรูทางธรรมชาติมีน้อย นอกจากนี้ตลาดยังมีความต้องการสูง พริกกะเหรี่ยงมีลักษณะเด่น คือ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม โรคและแมลง 

มีปริมาณผลผลิตสูงและให้ผลผลิตติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 1 – 3 ปี มีความเผ็ดมากและมีกลิ่นหอม เป็นที่ต้องการของโรงงานแปรรูปต่าง ๆ

พันธุ์พริกกะเหรี่ยง

1. ชนิดผลเล็ก จะมีขนาดผลเรียวละยาวกว่าพริกขี้หนูเล็กน้อย เมื่อผลยังดิบอยู่จะมีสีเขียวเข้มและสุกแดงเมื่อแก่จัด

2. ชนิดผลใหญ่ ผลจะมีขนาดใหญ่กว่า เนื้อหนา ผิวหนา สีของผลเมื่อดิบมีทั้งเป็นสีเขียวอมเหลืองอ่อน เริ่มสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม แต่เมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงเข้ม สีสดเป็นมัน

การเตรียมเมล็ดและต้นกล้าก่อนปลูก

นําเมล็ดแช่น้ําทิ้งไว้ 1 คืน หรือนํามาห่อในผ้าขาวบางหมาดๆ เก็บไว้ประมาณ 2 – 3 วัน จนมีตุ่มรากสีขาวเล็ก ๆ 

นําไปเพาะในกระบะ โดยใช้วัสดุปลูก คือ ดินละเอียด : ทราย : ขี้เถ้าแกลบ อัตรา 1 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนําเมล็ดพริกลงปลูกในกระบะเพาะละ 1 เมล็ด หรือทําการเพาะกล้าในแปลง โดยโรยเป็น แถวห่างกันประมาณ 3 นิ้ว กลบหน้าดินประมาณ 1 เซนติเมตร 

หลังเพาะนาน 7 – 10 วัน จะเริ่มงอก หมั่นรดน้ําให้ชุ่มอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้แห้ง จนกระทั่งต้นกล้าเจริญเติบโตมีใบประมาณ 3 – 4 คู่ หรือต้นกล้า มีอายุประมาณ 30 วัน สามารถนําไปปลูกในแปลงปลูก

การปลูก

การปลูกควรมีการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 800 – 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ผสมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 80 – 160 กิโลกรัม/ไร่ โดยใน 1 ไร่ ใชต้นกล้าพันธุ์ จํานวน 2,500 – 3,000 ต้น /ไร่ใช้ระยะปลูก 80 x 80 เซนติเมตร

การให้น้ํา

ให้น้ำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าให้น้ำขังแปลงเพราะจะทําให้รากเน่า

การให้ปุ๋ย

ใช้ปุ๋ยหมักหืรอปุ๋ยคอก ไม่นิยมใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เนื่องจากทําให้รสชาติของพริกกะเหรี่ยงเปลี่ยนไป

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

หลังย้ายปลูกประมาณ 60 วัน พริกกะเหรี่ยงเริ่มทยอยออกลูก และสามารถเก็บผลผลิตได้ โดยเลือกเก็บเมล็ดที่มีสีเขียวเข้มถึงแดง เพื่อรับประทานสด เก็บเมล็ดที่มีสีแดงสดเพื่อใช้ในการแปรรูป

คุณค่าทางโภชนาการ

พริกประกอบด้วย วิตามินเอ กรดแอสคอร์บิค ฟอสฟอรัสโปแตสเซี่ยม และแคลเซี่ยมสูง สารที่ทำให้เกิดรสชาติและความเผ็ดของพริกคือ capsaicin ซึ่งมีปริมาณสูงในเมล็ด ช่วยเพื่มอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มอัตราการหายใจ เพิ่มน้ําลาย แก้ปวดฟัน

การปล่อยให้ผลสุกบนต้น จะช่วยเพิ่มวิตามิน เอ และวิตามินซี พริก ป่นสีอดงปริมาณ 1ช้อนชาให้วิตามินเอ 26% พริกสีแดงมีวิตามินซีสูงกว่าสีเขียว 10 เท่า

การใช้ประโยชน์

1. รับประทานสด ใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ

2. ตลาดแปรรูป ในอุตสาหกรรมอาหารไม่ว่าจะเป็นซอส พริกเผา น้ำจิ้มต่าง ๆ 

3. การถนอมอาหาร เช่น การตากแห้ง หรือทําพริก


คัดลอกจาก เอกสารวิชาการ การปลูกผักบนพื้นที่สูง กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ISBN 974-9562-22-4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น